ทำไมคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วงกลองเต่งถิ้ง

วงกลองเต่งถิ้ง หรือมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อว่า วงพาทย์ วงพาทย์ค้อง (อ่าน “ ป้าดก๊อง ” ) หรือ วงแห่ (ศพ) เป็นต้น สามารถเปรียบได้กับ “ วงปี่พาทย์มอญ ” แบบของภาคกลางนั่นเอง เครื่องดนตรีประกอบด้วย พาทย์เอก (ระนาดไม้เอก) พาทย์ทุ้ม (ระนาดไม้ทุ้ม) พาทย์เหล็ก (ระนาดเหล็ก) พาทย์ค้อง (ฆ้องวง) กลองเต่งถิ้ง (ตะโพนมอญ) หรือกลองโป่งป้ง กลองตัด (กลองขนาดเล็ก) แนหลวง แนน้อย ฉิ่ง สว่า (ฉาบ) และกรับ นิยมบรรเลงในการชกมวย งานศพ งานทรงเจ้า และในงานฟ้อนผีมด-ผีเมง
วงกลองเต่งถิ้ง ชาวลำปางเรียกวงปี่พาทย์พื้นบ้านของตนว่า วงพาทย์ บางครั้งเรียกว่า วงกลองทึ่งทัง อันเป็นการเรียกตามเครื่องดนตรี คือ กลองทึ่งทัง หรือตะโพนมอญ ซึ่งเป็นเครื่องชิ้นเด่นในวงที่ให้เสียงกระหึ่มกังวานได้ยินในระยะไกล วงพาทย์มีเอกลักษณ์เกี่ยวกับ แบบแผนการประสมวง และการบรรเลงแบบลำปางโดยเฉพาะ แม้ว่าจะมีวงพาทย์แบบนี้อยู่ตามจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือก็ตาม วงพาทย์ลำปางมีเอกลักษณ์โดยสังเขป ดังนี้ แนหน้อย ดำเนินทำนองในทางของแนหน้อย เสียงของแนหน้อยตรงกับฆ้องลูกที่ ๘ แนหลวง ดำเนินทำนองในทางของแนหลวง เสียงของแนหลวงตรงกับฆ้องลูกที่ ๕ กลองทึ่งทังหรือตะโพนมอญ ตีทำจังหวะ โดยมีหน้าทับทั้งแบบหน้าทับทั่วไป และหน้าทับเฉพาะเพลง ประการสำคัญต้องทำหน้าที่เป็นเสียงประสานยืนด้วย กลองฮับ (รับ) เป็นกลองสองหน้าขนาดเล็ก ๆ ใช้วางบนตักตีสอดรับกับกลองทึ่งทัง สว่าหรือฉาบใหญ่ มีหน้าที่ตีขัดจังหวะ เมื่อเทียบกับจังหวะของฉิ่งในดนตรีไทยแล้ว สว่าจะตีลงที่เสียงฉิ่งให้เสียงดังสว่า ส่วนตรงเสียงฉับของการตีฉิ่งนั้น จะตีสว่าเพียงเบา ๆ จึงเป็นการขืนจังหวะอันเป็นแนวคิดที่กลับกันกับจังหวะของฉิ่งในดนตรีไทย สิ้ง มีหน้าที่ทำจังหวะ โดยมีแบบแผนการตีสิ้งแตกต่างไปจากฉิ่งของดนตรีแบบภาคกลาง ไม้เหิบ หรือตะขาบ ทำหน้าที่ตบให้จังหวะลูกตกส่วนที่เป็นจังหวะหนักของห้องเพลง ใช้ประสมวงเฉพาะการฟ้อนผีเท่านั้น พาทย์ (ฆ้องวงใหญ่) ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก และเล่นในส่วนที่เป็นรายละเอียด ไม่ได้มีหน้าที่เดินทำนองหลักตามหลักวิชาของฆ้องวงใหญ่ เนื่องจากว่าแต่เดิมวงพาทย์เมืองเหนือยังไม่มีระนาดเข้ามาประสมวง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น