ทำไมคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเภท เครื่องสี

ประเภท เครื่องสี ได้แก่ สะล้อ ซอด้วง ฯลฯ



ซอด้วง(ภาคกลาง)
เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย





ซออู้(ภาคกลาง)
เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร คันชักประมาณ ๕๐ เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสายซอ



สามสายอู้(ภาคกลาง)
เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของไทยเรา มีชื่อตามลักษณะรูปร่าง คือ มี 3 สาย เหมือนกับเครื่องดนตรีของจีนที่เรียกว่า สานเสียน (Sanhsien) และ
เครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ซามิเส็น (Shamisen)
แต่ทั้งสานเสียนของจีนและซามิเส็นของญี่ปุ้น เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด สานเสียนของจีน กะโหลกเป็นรูปสี่เหลี่ยมลบมุมจนเกือบเป็นรูปไข่ ขึ้นหน้ าด้วยหนังงูเหลือม และดีดด้วยนิ้วมือ ส่วนซามิเส็น ของญี่ปุ่น รูปกะโหลกเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยม ด้านข้างโค้งเล็กน้อยทั้งสี่ด้าน ขึ้นหน้าด้วยไม้ และดีดด้วยไม้ดีดรูปร่างคล้ายๆขวาน แต่เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ ก็มีสามสายเช่นเดียวกับซอสามสายเช่นเเดียวกัน

สะล้อ(ภาคเหนือ) อาจเรียกว่า ถะล้อ ธะล้อหรือ ทะร้อ ซึ่งมีรูปศัพท์เดิมจากภาษขอมว่า “ ทรอ ” ซึ่งภาษไทยกลางออกเสียงเป็น “ ซอ ” แต่ในโคลงนิราศหริภุญชัยว่า “ ธะล้อ ” เป็นเครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชักสีลงบนสายที่ขึงผ่านหน้ากล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ซึ่งตัดด้านหนึ่งออกไปเหลือประมาณ ๒ / ๓ ของกะลาทั้งลูก ตรงที่ถูกตัดออกไปนั้นปิดด้วยไม้เรียบบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า “ ตาดสะล้อ ” คันทวน ของสะล้อเป็นไม้กลมทำจากไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ ๖๔ เซนติเมตร เสียบทะลุกล่องเสียง ใกล้ ๆ ขอบที่ปิดด้วยตาด ปลายคันทวนเสียบลูกบิด ๒ อันในลักษณะทแยงเข้าไปในคันทวน มีไว้สำหรับผูกสายสะล้อและตั้งสาย สายนิยมใช้สายโลหะมากกว่าสายเอ็นเหมือนซอด้วงและซออู้ ส่วนมากทำจากลวดสายห้ามล้อรถจักรยาน คันชักสะล้อทำด้วยไม้ โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือสายไนลอน ทบไปทบมาหลายสิบทบ ไม่เอาคันชักขัดไว้ระหว่างสายเหมือนกับซออู้และซอด้วง สิ่งที่ใช้เสียดสีกับสายของคันชักเพื่อให้เกิดความฝืดในขณะสี ได้แก่ ยางสนหรือชัน ซึ่งติดไว้บนกะลาตรงจุดที่ใช้สายคันชักสัมผัสให้เกิดเสียง







สะล้อมี ๓ ขนาด ได้แก่


๑ . สะล้อเล็ก มี ๒ สาย
๒ . สะล้อกลาง มี ๒ สาย
๓ . สะล้อใหญ่ มี ๓ สาย

มีวิธีการเล่นซอสามสายแต่ไม่เอาคันชักไว้ระหว่างสาย
สะล้อที่นิยมบรรเลงคือสะล้อที่มี ๒ สาย
ส่วนสะล้อ ๓ สายไม่ค่อยมีผู้นิยมเล่นเพราะเล่นยากกว่าสะล้อ ๒ สาย
นอกจากใช้สะล้อบรรเลงเดี่ยวแล้ว
ยังนิยมใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองสะล้อ – ซึง หรือบางแห่งใช้บรรเลงร่วมกับปี่ชุม ประกอบการซอ บทเพลงที่เล่นมักเป็นเพลงพื้นเมืองของล้านนา
ผู้ที่ทำสะล้อขายจะเป็นแหล่งเดียวกันกับที่ทำซึงขายและนักดนตรีที่เล่นเป็นส่วนมากก็จะทำไว้เล่นเองด้วยเหมือนกับซึง

ซอกระป๋องอู้(ภาคกลาง) รูปร่างลักษณะ
ซอชนิดนี้เป็นของชาวบ้านที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ ทำขึ้นเพื่อความบันเทิง โดยทำแบบซอด้วง หรือซออู้ แต่ใช้ปีบขนาดเล็ก กระป๋องนมหรือกระป๋องอื่นๆ มาทำกล่องเสียงแทนไม้และกระโหลกมะพร้าว ไม่ต้องขึงหนัง แต่ใช้ด้านก้นกระป๋องเป็นหน้าซอแทน ส่วนประกอบอื่นๆ เหมือนกับซอด้วง ซออู้ นิยมใช้สายเอ็นตกปลาแทนสายไหม

ประวัติ
ทำเล่นกันมาประมาณสัก ๕๐ ปีแล้ว แต่ไม่แพร่หลายนัก พบตามชนบทที่ห่างตัวเมืองมากๆ ซึ่งหาวัสดุที่จำเป็นยาก

การเทียบเสียง
ขึ้นคู่ ๕ เช่นเดียวกับซออู้เเละซอด้วง

การประสมวง
๑.
บรรเลงโดยเอกเทศ
๒.
ประสมกับขลุ่ย เครื่องดนตรีอื่นๆ ตามแต่จะมี และเครื่องจังหวะ

บริเวณที่นิยมบรรเลง
พบตามชนบทในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อยุธยา นครปฐม

โอกาสที่บรรเลง
เพื่อความบันเทิงในทุกโอกาส

บทเพลงที่นิยมบรรเลง
เพลงไทยชั้นสุงในอัตราจังหวะสองชั้น และเพลงพื้นบ้านที่ร้องกันได้ ตลอดจนเพลงลูกทุ่งทำนองเพลงไทยๆ หลายเพลง

ซอบั้ง (อีสาน )
รูปร่างลักษณะเครื่องสายใช้สี ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ขังข้อทั้ง ๒ ด้าน ปอกเปลือกและเหลาจนบาง ช่องเสียงอยู่ด้านหลังตรงข้ามกับด้านที่ขึงสาย ด้านบนของซอมีลูกบิดขึงสาย ๒ อัน สายทำด้วยลวด ใช้สีด้วยคันชัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของซอประมาณ ๗ ซม. ยาวปนระมาณ ๔๕ ซม. คันชักทำด้วยไม้เนื้ออ่อนหรือไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๔๐ ซม. ขึงหางม้าประวัติมีเล่นกันมานานแล้ว ไม่อาจกำหนดเวลาได้
การเทียบเสียง
ขึ้นเสียงเดียวกันทั้ง ๒ สาย แต่ใช้กดเป็นทำนองเฉพาะสายเอก ส่วนสาย ๒ ใช้เป็นเสียงเสพ ( เสียง Drone) นิยมขึ้นเสียงเป็นคู่ ๑ คู่ ๔ หรือ คู่ ๕
ประวัติ
มีเล่นกันมานานแล้ว ไม่อาจกำหนดเวลาได้
การเทียบเสียง
ขึ้นเสียงเดียวกันทั้ง ๒ สาย แต่ใช้กดเป็นทำนองเฉพาะสายเอก ส่วนสาย ๒ ใช้เป็นเสียงเสพ ( เสียง Drone) นิยมขึ้นเสียงเป็นคู่ ๑ คู่ ๔ หรือ คู่ ๕



การประสมวง
บรรเลงเอกเทศ - ประสมวงดนตรี0ของชาวผู้ไท
บริเวณที่นิยมบรรเลง
พบที่จังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มชาวผู้ไท จ.สกลนคร กาฬสินธุ์
โอกาสที่บรรเลง
เพื่อความบันเทิงทั่วไป สีประกอบการชกมวย
ประกอบการลำ การฟ้อน ( ผู้ไท)
บทเพลงที่นิยมบรรเลง
เพลงพื้นบ้านอิสานทุกเพลงและเพลงพื้นบ้านผู้ไท



ซอกันตรึม(อิสาน)รูปร่างลักษณะ
เครื่องสายใช้สี ทำด้วยไม้ กล่องเสียงซึงด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม หน้าซอ ใช้สายลวด มี ๒ สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ ๖๐ ซม. มีลูกบิดอยู่ตอนบนอกซอใช้รัดด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความประสงค์ของผู้สร้าง โดยทั่วไปมี ๓ ขนาด ตรัวจี้(เล็ก) ตรัวเอก(กลาง) ตรัวธม(ใหญ่)
ประวัติ


ซอกรันตรึม ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงกรันตรึมมาช้านานแล้ว แต่เดิมบรรเลงเฉพาะเพลงพื้นบ้านภายหลังได้รับอิทธิพลจากภาคกลางไปบ้าง
การเทียบเสียง
ซอจี้ (ซอเล็ก) คู่ ๕ -
ซอกลาง
ซอธม (ซอใหญ่)คู่ ๕
การประสมวง
ประสมในวงกรันตรึม วงเจรียง อาไย รวมทั้งประกอบระบำ (เรือม)ต่างๆ
บริเวณที่นิยมบรรเลง
จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
โอกาสที่บรรเลง
- การละเล่นในงานมงคล, งานเฉลิมฉลองตามประเพณี , ในโอกาสทำพิธีกรรมต่างๆ
บทเพลงที่นิยมบรรเลง
ได้แก่ เพลงพื้นบ้านอิสานใต้ทั่วไป เช่น กะโนบ ติงตอง อมตูก ปะการัญเจก ฯลฯ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น