ทำไมคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเภท เครื่องสี

ประเภท เครื่องสี ได้แก่ สะล้อ ซอด้วง ฯลฯ



ซอด้วง(ภาคกลาง)
เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง บรรเลงโดยการใช้คันชักสี กล่องเสียง ทำ ด้วยไม้เนื้อแข็ง ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่อง เสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อ แข็ง ยาวประมาณ ๖๐ เซนติเมตร มีลูกบิดขึ้นสาย อยู่ตอนบน ซอด้วงใช้สายไหมฟั่นหรือสาย เอ็น มี ๒ สาย ขนาดต่างกัน คันชักอยู่ระหว่าง สาย ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ซอด้วงมีเสียงแหลม ใช้ เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสาย





ซออู้(ภาคกลาง)
เป็นเครื่องสายใช้สี กล่องเสียงทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ขึ้นหน้าด้วยหนังวัว มีช่องเสียงอยู่ด้านตรง ข้าม คันทวนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตอนบนมี ลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซอทำด้วยไหมฟั่น มีคันชักอยู่ระหว่างสาย ความยาวของคันซอ ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร คันชักประมาณ ๕๐ เซนติมตร ซอ อู้มีเสียงทุ้มต่ำ บรรเลงคู่และสอดสลับกับ ซอด้วงในวงเครื่องสายซอ



สามสายอู้(ภาคกลาง)
เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของไทยเรา มีชื่อตามลักษณะรูปร่าง คือ มี 3 สาย เหมือนกับเครื่องดนตรีของจีนที่เรียกว่า สานเสียน (Sanhsien) และ
เครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ซามิเส็น (Shamisen)
แต่ทั้งสานเสียนของจีนและซามิเส็นของญี่ปุ้น เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด สานเสียนของจีน กะโหลกเป็นรูปสี่เหลี่ยมลบมุมจนเกือบเป็นรูปไข่ ขึ้นหน้ าด้วยหนังงูเหลือม และดีดด้วยนิ้วมือ ส่วนซามิเส็น ของญี่ปุ่น รูปกะโหลกเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยม ด้านข้างโค้งเล็กน้อยทั้งสี่ด้าน ขึ้นหน้าด้วยไม้ และดีดด้วยไม้ดีดรูปร่างคล้ายๆขวาน แต่เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ ก็มีสามสายเช่นเดียวกับซอสามสายเช่นเเดียวกัน

สะล้อ(ภาคเหนือ) อาจเรียกว่า ถะล้อ ธะล้อหรือ ทะร้อ ซึ่งมีรูปศัพท์เดิมจากภาษขอมว่า “ ทรอ ” ซึ่งภาษไทยกลางออกเสียงเป็น “ ซอ ” แต่ในโคลงนิราศหริภุญชัยว่า “ ธะล้อ ” เป็นเครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชักสีลงบนสายที่ขึงผ่านหน้ากล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ซึ่งตัดด้านหนึ่งออกไปเหลือประมาณ ๒ / ๓ ของกะลาทั้งลูก ตรงที่ถูกตัดออกไปนั้นปิดด้วยไม้เรียบบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า “ ตาดสะล้อ ” คันทวน ของสะล้อเป็นไม้กลมทำจากไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ ๖๔ เซนติเมตร เสียบทะลุกล่องเสียง ใกล้ ๆ ขอบที่ปิดด้วยตาด ปลายคันทวนเสียบลูกบิด ๒ อันในลักษณะทแยงเข้าไปในคันทวน มีไว้สำหรับผูกสายสะล้อและตั้งสาย สายนิยมใช้สายโลหะมากกว่าสายเอ็นเหมือนซอด้วงและซออู้ ส่วนมากทำจากลวดสายห้ามล้อรถจักรยาน คันชักสะล้อทำด้วยไม้ โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือสายไนลอน ทบไปทบมาหลายสิบทบ ไม่เอาคันชักขัดไว้ระหว่างสายเหมือนกับซออู้และซอด้วง สิ่งที่ใช้เสียดสีกับสายของคันชักเพื่อให้เกิดความฝืดในขณะสี ได้แก่ ยางสนหรือชัน ซึ่งติดไว้บนกะลาตรงจุดที่ใช้สายคันชักสัมผัสให้เกิดเสียง







สะล้อมี ๓ ขนาด ได้แก่


๑ . สะล้อเล็ก มี ๒ สาย
๒ . สะล้อกลาง มี ๒ สาย
๓ . สะล้อใหญ่ มี ๓ สาย

มีวิธีการเล่นซอสามสายแต่ไม่เอาคันชักไว้ระหว่างสาย
สะล้อที่นิยมบรรเลงคือสะล้อที่มี ๒ สาย
ส่วนสะล้อ ๓ สายไม่ค่อยมีผู้นิยมเล่นเพราะเล่นยากกว่าสะล้อ ๒ สาย
นอกจากใช้สะล้อบรรเลงเดี่ยวแล้ว
ยังนิยมใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นเมืองสะล้อ – ซึง หรือบางแห่งใช้บรรเลงร่วมกับปี่ชุม ประกอบการซอ บทเพลงที่เล่นมักเป็นเพลงพื้นเมืองของล้านนา
ผู้ที่ทำสะล้อขายจะเป็นแหล่งเดียวกันกับที่ทำซึงขายและนักดนตรีที่เล่นเป็นส่วนมากก็จะทำไว้เล่นเองด้วยเหมือนกับซึง

ซอกระป๋องอู้(ภาคกลาง) รูปร่างลักษณะ
ซอชนิดนี้เป็นของชาวบ้านที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ ทำขึ้นเพื่อความบันเทิง โดยทำแบบซอด้วง หรือซออู้ แต่ใช้ปีบขนาดเล็ก กระป๋องนมหรือกระป๋องอื่นๆ มาทำกล่องเสียงแทนไม้และกระโหลกมะพร้าว ไม่ต้องขึงหนัง แต่ใช้ด้านก้นกระป๋องเป็นหน้าซอแทน ส่วนประกอบอื่นๆ เหมือนกับซอด้วง ซออู้ นิยมใช้สายเอ็นตกปลาแทนสายไหม

ประวัติ
ทำเล่นกันมาประมาณสัก ๕๐ ปีแล้ว แต่ไม่แพร่หลายนัก พบตามชนบทที่ห่างตัวเมืองมากๆ ซึ่งหาวัสดุที่จำเป็นยาก

การเทียบเสียง
ขึ้นคู่ ๕ เช่นเดียวกับซออู้เเละซอด้วง

การประสมวง
๑.
บรรเลงโดยเอกเทศ
๒.
ประสมกับขลุ่ย เครื่องดนตรีอื่นๆ ตามแต่จะมี และเครื่องจังหวะ

บริเวณที่นิยมบรรเลง
พบตามชนบทในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม อยุธยา นครปฐม

โอกาสที่บรรเลง
เพื่อความบันเทิงในทุกโอกาส

บทเพลงที่นิยมบรรเลง
เพลงไทยชั้นสุงในอัตราจังหวะสองชั้น และเพลงพื้นบ้านที่ร้องกันได้ ตลอดจนเพลงลูกทุ่งทำนองเพลงไทยๆ หลายเพลง

ซอบั้ง (อีสาน )
รูปร่างลักษณะเครื่องสายใช้สี ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ขังข้อทั้ง ๒ ด้าน ปอกเปลือกและเหลาจนบาง ช่องเสียงอยู่ด้านหลังตรงข้ามกับด้านที่ขึงสาย ด้านบนของซอมีลูกบิดขึงสาย ๒ อัน สายทำด้วยลวด ใช้สีด้วยคันชัก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของซอประมาณ ๗ ซม. ยาวปนระมาณ ๔๕ ซม. คันชักทำด้วยไม้เนื้ออ่อนหรือไม้ไผ่ ยาวประมาณ ๔๐ ซม. ขึงหางม้าประวัติมีเล่นกันมานานแล้ว ไม่อาจกำหนดเวลาได้
การเทียบเสียง
ขึ้นเสียงเดียวกันทั้ง ๒ สาย แต่ใช้กดเป็นทำนองเฉพาะสายเอก ส่วนสาย ๒ ใช้เป็นเสียงเสพ ( เสียง Drone) นิยมขึ้นเสียงเป็นคู่ ๑ คู่ ๔ หรือ คู่ ๕
ประวัติ
มีเล่นกันมานานแล้ว ไม่อาจกำหนดเวลาได้
การเทียบเสียง
ขึ้นเสียงเดียวกันทั้ง ๒ สาย แต่ใช้กดเป็นทำนองเฉพาะสายเอก ส่วนสาย ๒ ใช้เป็นเสียงเสพ ( เสียง Drone) นิยมขึ้นเสียงเป็นคู่ ๑ คู่ ๔ หรือ คู่ ๕



การประสมวง
บรรเลงเอกเทศ - ประสมวงดนตรี0ของชาวผู้ไท
บริเวณที่นิยมบรรเลง
พบที่จังหวัดอุบลราชธานี
กลุ่มชาวผู้ไท จ.สกลนคร กาฬสินธุ์
โอกาสที่บรรเลง
เพื่อความบันเทิงทั่วไป สีประกอบการชกมวย
ประกอบการลำ การฟ้อน ( ผู้ไท)
บทเพลงที่นิยมบรรเลง
เพลงพื้นบ้านอิสานทุกเพลงและเพลงพื้นบ้านผู้ไท



ซอกันตรึม(อิสาน)รูปร่างลักษณะ
เครื่องสายใช้สี ทำด้วยไม้ กล่องเสียงซึงด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม หน้าซอ ใช้สายลวด มี ๒ สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ ๖๐ ซม. มีลูกบิดอยู่ตอนบนอกซอใช้รัดด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความประสงค์ของผู้สร้าง โดยทั่วไปมี ๓ ขนาด ตรัวจี้(เล็ก) ตรัวเอก(กลาง) ตรัวธม(ใหญ่)
ประวัติ


ซอกรันตรึม ใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงกรันตรึมมาช้านานแล้ว แต่เดิมบรรเลงเฉพาะเพลงพื้นบ้านภายหลังได้รับอิทธิพลจากภาคกลางไปบ้าง
การเทียบเสียง
ซอจี้ (ซอเล็ก) คู่ ๕ -
ซอกลาง
ซอธม (ซอใหญ่)คู่ ๕
การประสมวง
ประสมในวงกรันตรึม วงเจรียง อาไย รวมทั้งประกอบระบำ (เรือม)ต่างๆ
บริเวณที่นิยมบรรเลง
จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
โอกาสที่บรรเลง
- การละเล่นในงานมงคล, งานเฉลิมฉลองตามประเพณี , ในโอกาสทำพิธีกรรมต่างๆ
บทเพลงที่นิยมบรรเลง
ได้แก่ เพลงพื้นบ้านอิสานใต้ทั่วไป เช่น กะโนบ ติงตอง อมตูก ปะการัญเจก ฯลฯ

ประเภทเครื่องดีด

ประเภทเครื่องดีดด้แก่ เครื่องดนตรีที่มีสายเสียงเป็นสะพานวางสาย แล้วใช้ไม้ตัดปลายแหลมทู่ เป็นเครื่องมือดีดสายร่วมกับใช้นิ้วมือซึ่งจะคอยกดปิดเปิดเสียงตามฐานเสียงระดับต่างๆเครื่องดนตรีประเภทดีด ซึ่งยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ จะเข้ นอกจากนั้นก็เป็น พิณ และ กระจับปี่ ซึ่งมีผู้นำมาบรรเลงบ้างเป็นครั้งคราว



พิณเพี๊ยะ(ภาคเหนือ) เครื่องดนตรีในพระราชพิธี มีลักษณะคล้ายกับพิณน้ำเต้า แต่ประดิษฐ์ให้มีสายเพิ่มขึ้น 2 ถึง 4 สาย ตามที่ปรากฏในท้องถิ่นภาคเหนือ ผู้เล่นนิยมดีดคลอไปกับการขับร้องของตนเอง นิยมดีดพิณเพี๊ยะในขณะที่ไปเกี้ยวจีบสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำ ปัจจุบันยังมีการเล่นบ้าง เฉพาะทางภาคเหนือ เท่านั้นเอง


พิณน้ำเต้า (ภาคเหนือ) เครื่องดนตรีในพระราชพิธีพิณน้ำเต้าเป็นพิณสายเดียว ทำจากลูกน้ำเต้า และต่อมาได้ดัดแปลงเป็นพิณหลายสาย การเล่นพิณน้ำเต้า ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาย เวลาเล่นจะไม่สวมเสื้อ ใช้ส่วนที่ทำจากน้ำเต้า กดทับลงที่หน้าอก ใช้ดีดประสานเสียงกับเสียงซอของ




กระจับปี่ (ภาคกลาง) เครื่องดนตรีในพระราชพิธี เป็นพิณชนิดหนึ่งมี 4 สาย เหตุที่เรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “กระจับปี่” เพราะว่าเสียงที่เรียก เพี้ยนมาจากคำว่า “กัจฉปิ” ซึ่งเป็นภาษาชวา เพี้ยนมาจากอีกต่อหนึ่งของภาษาบาลีว่า “กัจฉปะ” แปลว่า “เต่า” นิยมนำไปเล่นรวม ในวงมโหรีในสมัยก่อน แต่เนื่องจากกระจับปี่มีเสียงเบา และมีน้ำหนักมาก เพราะทำจากไม้แก่น ถือติดพกไปไหนไม่สะดวก จึงไม่มีผู้นิยมนำมาเล่น ต่อมา กระจับปี่จึงหายไปจากวงดนตรีไทย


พิณอีสาน พิณมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ซุง ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน (ไม้บักมี่)เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทนการขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้นที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลายโดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน














ซึง (ภาคเหนือ) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้วิธีเล่นโดยการดีด สมัยก่อนใช้สายลวดเส้นเล็ก ๆ หรือสายเบรกรถจักยาน แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน ซึงของชาวเหนือเป็นพิณแบบสายคู่ โดยแบ่งเป็นสายบน และคู่สายล่าง (สายบน - สายลุ่ม) มีลูกนับแบ่งเป็นช่อง ๆ คล้ายกีตาร์ ซึงมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และยังมีขนาดใหญ่มาก ๆ เรียกกันว่า ซึงหลวง แต่นิยมเล่นกันทั่วไปมักเล่นเพียง ๓ ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึงใช้เล่นเพื่อให้เสียงประสาน และตัดกัน ในการเล่นเป็นกลุ่ม หรือคณะ หรือเล่นบรรเลงเดี่ยวโดยเลือกขนาดที่ชอบของแต่ละบุคคล ซึงแต่ละขนาดต่างมีสำเนียงเฉพาะตัว มีความไพเราะ คนละรูปแบบส่วนประกอบของซึง

จะเข้
เป็นเครื่องดีดที่ได้ดัดแปลงแก้ไขมาจากพิณ โดยประดิษฐ์ให้นั่งดีดได้สะดวกและให้ไพเราะยิ่งขึ้น โดยเหตุที่แต่เดิมนั้นตัวทำเป็นรูปร่างอย่างจระเข้ จึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้สั้น ๆ ว่า “จะเข้” สมัยต่อมา จะเข้มี 3 สาย สายหนึ่งทำจากทองเหลือง อีกสองสายทำด้วยไหมถักหรือสายเอ็น ไม้ดีดทำด้วยงาช้างหรือกระดูกของสัตว์ มีลักษณะกลมปลายแหลม ไทยเรารู้จักเล่นจะเข้มาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มตั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เพิ่งนำมาผสมเข้ากับวงเครื่องสายและมโหรี เมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่า จะเข้เป็นเครื่องดนตรีไทย ที่เหมาะสำหรับเดี่ยวก็ได้ปัจจุบัน จะเข้ นับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่คุ้นหูคุ้นตาชนิดหนึ่งมีกระแสเสียงก้องกังวานและไพเราะเป็นที่นิยมแพร่หลายในวงการดนตรีไทยทั่ว ไป
ไหซอง


เป็นเครื่องดนตรีประเภทคุมจังหวะ ให้เสียงทุ้มต่ำ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความโตของไหที่ใช้ และความตึงหย่อนของหนังยางที่ขึงพาดอยู่ปากไห ไหซอง โดยทั่วไป นิยมใช้บรรจุปลาร้า เกลือ และหมักสาโท ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ใครเป็นผู้นำไหซอง มาทำเป็นเครื่องดนตรีคนแรกไหซอง ทำเป็นเครื่องดนตรี ได้โดย ใช้สายยาง หรือสายหนังสะติ๊ก (สมัยก่อน ใช้ยางในรถจักรยาน หรือยางในล้อรถ ต่อมาใช้ยางหนังสะติ๊ก) ขึงให้ตึงพาดผ่านปากไห และมัดยึดปลายสองด้านไว้กับคอไห ปรับความตึงของหนังยางให้พอเหมาะ เวลาจะเล่น ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เกี่ยวดึงสายหนังยางขึ้นมาแล้วปล่อย เสียงที่ได้จากการดึงปล่อยหนังยาง จะดังทุ้มต่ำ คล้ายเสียงเบส สมัยก่อนนั้น ยังไม่มีเบส จึงใช้ไหซองแทนเสียงเบส โดยจำนวนไหที่นิยมใช้ ประมาณ ๔-๕ลูก ปรับระดับคีย์เสียงให้เหมาะสมกับเสียงดนตรีหลัก โดยปรับความตึงของหนังยาง วางเรียงไหบนขาตั้งไห จากใหญ่ไปหาเล็ก และผู้บรรเลงไหซอง ก็เป็นผู้ชายเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ วงโปงลางในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ใช้เบส คุมจังหวะ จึงไม่มีการดีดไหซองจริงๆ ซึ่งไหซองในปัจจุบัน เป็นเพียงโชว์ลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำแบบอ่อนช้อยแพรวพราว ดังนั้น จึงนิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีดไห เรียกว่า นางดีดไห หรือนางไห และนางไหนี่เอง ถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก

เครื่องดนตรีไทย มี 4ประเภท

1.ประเภทดีด
2.ประเภทสี
3.ประเภทตี
4.ประเภทเป่า

วงซอ

วงซอ ซอในจังหวัดลำปาง มีทั้งแบบซอเมืองน่าน กับซอเชียงใหม่ ซอเมืองน่านมีคณะซอที่ใช้วงสะล้อ และซึงบรรเลงประกอบการซอ ส่วนซอเชียงใหม่เป็นคณะซอที่ใช้วงปี่จุมบรรเลงประกอบการซอ ประกอบด้วยปี ๓ - ๔ เลา และซึง ๑ คัน

วงกลองสิ้งหม้อง

วงกลองสิ้งหม้อง คือวงกลองยาวขนาดเล็กมีอยู่ตามวัดต่าง ๆ ประกอบด้วยกลองยาว ๑ ใบ สิ้ง (ปัจจุบันใช้ฉาบ) ๑ คู่ ฆ้องขนาดย่อม (เรียกตามเสียงว่าฆ้องหม้องหรือมอง) ๑ - ๓ ใบ หรือตามแต่จะหาได้ ปัจจุบันได้กลายเป็นวงกลองยาว แบบภาคกลางไปเกือบหมด โดยการเพิ่มจำนวนกลองเข้าไป

ประเภทของบทเพลงพื้นบ้าน





บทเพลงพื้นบ้านของล้านนาก็มีเป็นบทเพลงเก่าแก่ของชาวล้านนาเอง เป็นบทเพลงที่มีนิยมกันมานานดังปรากฏในวรรณคดีโบราณ เพลงพื้นบ้านภาคเหนือจัดแบ่งเพลงตามรูปการแสดงออก โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ ๒ อย่าง คือดนตรีและเนื้อร้อง ซึ่งจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๓ ประเภท ดังนี้

• เพลงที่ไม่มีเนื้อร้องหรือเพลงบรรเลง
• เพลงที่มีเนื้อร้องโดยไม่มีดนตรีประกอบ
• เพลงผสมหรือเพลงที่มีทั้งเนื้อร้องและดนตรีประกอบ
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

๑. เพลงที่ไม่มีเนื้อร้องหรือเพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่เกิดจากการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วนๆ โดยไม่มีการขับร้อง เพลงประเภทนี้มีทั้งการบรรเลงเดี่ยวๆ และการเล่นประสมวง โอกาสในการเล่นดนตรีมีทั้งการเล่นขับกล่อมอารมณ์ในยามว่าง การเล่นดนตรีของชายหนุ่มเวลาไปแอ่วสาวในตอนกลางคืน และการเล่นในงานฉลองรื่นเริงหรือในพิธีกรรมต่างๆ เป็นต้น
เพลงบรรเลงเก่าแก่ของภาคเหนือที่สืบทอดมาแต่โบราณมีอยู่ไม่มากนัก มักจะมีลักษณะเรียบง่าย เป็นทำนองสั้นๆ บรรเลงกลับไปกลับมา นอกจากนั้นก็จะพบว่าชื่อทำนองเพลงเดียวกัน แต่ผู้เล่นอาจจะบรรเลงแตกต่างกันออกไปคนละทางก็ได้ หรือบางทีเพลงเดียวกันแต่ถูกเรียกชื่อต่างกันอันเป็นลักษณะธรรมดาของเพลงพื้นบ้าน เพลงบรรเลงเหล่านี้ ได้แก่ เพลงปราสาทไหว เพลงขงเบ้ง เพลงฤาษีหลงถ้ำ เพลงกุหลาบเชียงใหม่ เพลงล่องแม่ปิง เพลงพม่า เพลงเงี้ยว (ไทใหญ่) เพลงจะปุ เป็นต้น ส่วนการจดบันทึกนั้น แต่เดิมแล้วเพลงล้านนาจะไม่มีการจดบันทึกเป็นตัวโน้ต (เพิ่งมามีภายหลัง) การสืบทอดจะใช้วิธีที่ต้องฟังเพลงบ่อยๆ จนจำทำนองให้ได้ก่อนแล้วจึงไปฝึกทักษะการเล่นเพิ่มเติมทีหลังซึ่งวิธีสืบทอดแบบนี้ก็ยังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน
เพลงบรรเลงบางเพลงเป็นเพลงที่ใช้ให้จังหวะประกอบในการฟ้อนต่างๆ เช่น เพลงประกอบการฟ้อนแห่ครัวทาน (ฟ้อนเล็บ) ฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ ฟ้อนนางนก (กิงกะหร่า) ฟ้อนผีมด-ผีเมง เป็นต้น

• เพลงที่มีเนื้อร้องแต่ไม่มีดนตรีประกอบ คือ ลักษณะของการขับร้องเพลงพื้นบ้นที่จดจำ
ทำนองและเนื้อร้อยสืบทอดกันต่อๆมา ใช้ร้องกันเล่นคือ ช้อย (อ่าน “ จ๊อย ” ) หรือบทขับทำนองเสนาะ ซึ่งเมื่อขับจากเนื้อความที่เป็นคำประพันธ์ประเภทคร่าว-ค่าว (อ่าน “ ค่าว ” ) ก็จะเรียกว่า ช้อย แต่หากขับจากขับจากเนื้อความที่เป็นคำประพันธ์ประเภทโคลง จะเรียกว่า ช้อยโคลง (อ่าน “ จ๊อยกะโลง ” )
ทั้งการช้อยคร่าวและช้อยโคลงนั้น หากเป็นการขับเพื่อความสนุกสนานอย่างง่ายๆ แล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีดนตรีประกอบ แต่หากเป็นการขับที่ต้องการแสดงออกถึงความประณีตแล้ว ในการช้อยจากคร่าวนั้น นิยมใช้สะล้อคลอประกอบ แต่หากเป็นการช้อยโคลงแล้ว ถือว่าหากคลอด้วยเพียะ ก็จะสอดคล้องกันได้ดีอย่างยิ่ง
การช้อยคร่าว คือลำนำเพลงที่ขับร้อง เป็นการขับร้องเดี่ยว ทอดเสียงยาวตามลีลา โดยมากหนุ่มมักจะขับเวลาไปแอ่วสาวในตอนกลางคืนตามประเพณีโบราณ ซึ่งในปัจจุบันจะหาฟังได้ยาก แต่ก็ยังมีอยู่บ้างตามงานต่างๆ ที่มีการนำซอไปแสดงในงาน โดยช่างซอจะเป็นผู้ขับ มีลักษณะคล้ายการขับเสภาในภาคกลาง ช้อยมีหลายทำนองด้วยกัน คือ

๑) ทำนองโก่งเฮียวบง นิยมช้อยตามงานศพ ทำนองธรรมดา จังหวะช้า แสดงถึงความอาลัย โศกเศร้า
๒) ทำนองม้าย่ำไฟ นิยมช้อยเนื้อความที่ยาวแต่ต้องการเก็บข้อความได้มากๆ แต่เอื้อนไปทางปลาย ทำนองนี้นิยมช้อยเวลาหนุ่มไปแอ่วสาวตอนกลางคืน
๓) ทำนองวิงวอน หรือช้อยเชียงแสน หรือช้อยกะโลง นิยมช้อยในตอนที่ตัวละครถึงบทโศกเศร้าสลด ต้องการให้คนฟังมีความโศกสลดตามไปด้วย นับเป็นทำนองที่ใช้เสียงมากที่สุด หากคนขับเก่งและเสียงเพราะ จะทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความวังเวง
ทำนองทั่วไปของช้อยคือร้องติดต่อกันไป ส่วนดนตรีก็คลอไปเรื่อยๆ
ทั้งนี้ ในการอ่านคำประพันธ์ประเภทคร่าวหรือคร่าวซอ นั้น เรียกว่าการเล่าคร่าว ซึ่งผู้เล่าหรือผู้อ่านก็จะอ่านเป็นทำนองเสนาะเพื่อให้น่าฟังตามลีลาที่กำหนด ซึ่งแนวคิดก็ไม่ต่างจากการเทศน์ด้วยลีลาทำนองเสนาะนั่นเอง
การเล่าคร่าวนั้นจัดเป็นประเพณีอย่างหนึ่งในล้านนายุคก่อน ที่จะจัดหาผู้ที่มีเสียงดีมาเป็นผู้เล่าคร่าวหรืออ่านคำประพันธ์ที่แต่งด้วยฉันทลักษณ์คร่าวเป็นทำนองเสนาะให้ชาวบ้านฟังทั้งในงานมงคลและงานอวมงคล โดยมากในงานมงคล เช่น บวชนาคหรือขึ้นบ้านใหม่ นิยมเล่าคร่าวในคืนวันสุกดิบ หรือวันที่จัดเตรียมงาน ซึ่งเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้มาช่วยงาน ส่วนในงานศพนั้น พบว่ามีการเล่าคร่าวทั้งในช่วงเตรียมปลงศพและหลังปลงศพแล้ว คำประพันธ์ที่นำมาอ่านมักเรียกว่าคร่าวหรือคร่าวซอซึ่งมักจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นจากชาดกเรื่องต่างๆ เช่น หงส์หิน เจ้าสุวัตร-นางบัวคำ ก่ำกาดำ อ้ายร้อยขอด ฯลฯ ทั้งนี้ ในการเล่าคร่าวนี้จะไม่มีการเล่นดนตรีประกอบ

๓. เพลงผสมหรือเพลงที่มีทั้งเนื้อร้องและดนตรีประกอบ เพลงประเภทนี้ก็คือ ซอ ซึ่งคำว่า ซอ ในภาษาพื้นบ้านล้านนาหมายถึงเพลงพื้นบ้านที่จัดอยู่ในลักษณะ เพลงปฏิพากย์ คือมีผู้ขับชายหญิงซึ่งเรียกว่า ช่างซอ (อ่าน “ จ้างซอ ” ) ขับโต้ตอบกัน เรียกว่าเป็น คู่ถ้อง (ถ้อง-โต้ตอบกัน) ช่างซอจะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างดี มีความเชี่ยวชาญและมีปฏิภาณตลอดจนน้ำเสียงที่ไพเราะ ดนตรีที่ใช้ประกอบซอก็คือวงปี่ชุม แต่ในท้องถิ่นบางแห่ง เช่น ที่จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จะใช้สะล้อ-ซึง (พิณ) ประกอบ ไม่ใช้ปี่จุม
เนื้อร้องในบทซอนั้น จะมีเนื้อหาที่เป็นการกล่าวถึงความรักระหว่างหนุ่มสาว ชมธรรมชาติ กล่าวถึงเรื่องสนุกสนานไปจนถึงเรื่องเพศ และมีทั้งการซอเรื่องนิทานชาดก คำสอนประวัติบุคคลหรือเหตุการณ์ต่างๆ นอกจากนี้ช่างซอยังเลือกสรรเนื้อร้องให้เหมาะสมกับโอกาส เช่น การซอในงานบวชลูกแก้ว หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น (ดูเพิ่มที่ซอ)
การเปลี่ยนแปลงของดนตรีพื้นเมือง
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ชาวล้านนามีโอกาสรับอิทธิพลจากต่างถิ่นโดยเฉพาะไทยภาคกลาง ทำให้วิถีชีวิตต่างๆ พลอยเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะทางด้านดนตรีแล้วก็นับว่าได้รับผลกระทบส่วนนี้และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น

๑. การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ก็คือเครื่องดนตรีที่รู้จักกันดีคือสะล้อและซึง ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่นนั้นไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากนัก บางอย่างก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย เช่น ปี่ การเปลี่ยนแปลงตัวเครื่องดนตรีนั้นพอจะแบ่งได้สองอย่าง คือการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีแต่ดั้งเดิมมาใช้วัสดุอื่นๆ แทน และอีกข้อหนึ่งก็คือการเปลี่ยนรูปร่างสัดส่วนของเครื่องดนตรี มีเครื่องดนตรีล้านนาที่พอจะอธิบายได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้แก่
ซึง เป็นเครื่องดนตรีที่มีการเปลี่ยนแปลงจากของเดิมมากที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีพื้นเมือง แต่เดิมนั้นไม้ที่ใช้ทำซึงส่วนมากนิยมที่จะใช้ไม้สัก แต่ต่อมาเนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่มีราคาแพงและห้ามตัด จึงหันมานิยมที่จะใช้ไม้แดงแทนเพราะราคาถูก ส่วนเรื่องคุณสมบัติของไม้แดงก็ใกล้เคียงกันอีกทั้งยังเป็นไม้ที่หาง่ายกว่าไม้สักอีกด้วย รูปร่างของซึงแต่เดิมนั่นมีขนาดที่ไม่ใหญ่มากเท่าใดนัก ซึงใหญ่ยังมีขนาดเล็กกว่ากีตาร์เสียด้วย แต่ปัจจุบันถูกดัดแปลงให้มีขนาดเท่ากีตาร์ก็มี มีการเสริมแต่งโดยการวาดลวดลาย ลงสี หรือแกะสลัก ตลอดจนการทาชะแล็กบนซึงเพื่อให้สวยงาม ทั้งนี้เพราะซึงมักถูกนำขายไปเป็นเครื่องประดับบ้านแทนที่จะนำไปเล่นดนตรี ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ของซึงที่ถูกนำวัสดุอื่นๆ ใช้แทนของเดิม ได้แก่ สายซึง ซึ่งแต่เดิมสายซึงนั้นนิยมที่จะใช้สายห้ามล้อจักรยานเท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมที่จะใช้สายกีตาร์แทน ลูกบิดที่ใช้ตั้งสายซึงที่เคยทำจากไม้ ก็เปลี่ยนมาใช้ลูกบิดของกีตาร์แทนเพราะสะดวกกว่าในการตั้งสายซึง ที่ใช้สำหรับดีดซึงจะใช้เขาสัตว์ดีด แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีแล้วหันมาใช้พลาสติกดีดแทน
สะล้อ รูปร่างของสะล้อโดยทั่วๆไปแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือยังใช้กะลามะพร้าวและไม้สักที่เป็นองค์ประกอบสำคัญทำอยู่ แต่ส่วนมีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ สายสะล้อแต่เดิมนิยมที่จะใช้สายห้ามล้อจักรยานเท่านั้น ปัจจุบันบางคนหันมาใช้สายกีตาร์แทน สายคันชักก็เช่นกันนิยมที่จะใช้หางม้าหรือไม่ก็ใช้สายไนลอน แต่ปัจจุบันจะนิยมใช้สายไนลอนเกือบทั้งหมด

๒. การประยุกต์วงดนตรีแห่กลองเต่งถิ้งมาเป็นวงดนตรีแห่ประยุกต์
วงแห่กลองเติ่งถิ้งเป็นวงดนตรีปี่พาทย์ของล้านนาใช้เล่นในงานศพ และงานฟ้อนผีมอ-ผีเมง ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ยังเป็นการเปลี่ยนในลักษณะที่ยังคงของเก่าก็ยังมีอยู่ เดิมเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลองเต่งถิ้ง กลองตัด แนหลวง แนน้อย พาทย์เอก พาทย์ทุ้ม พาทย์เหล็ก ฆ้องวง ฉิ่ง และสว่า(ฉาบ) เพลงที่เล่นจะเล่นทั้งพื้นเมืองของล้านนาเองและเพลงไทยเดิมของทางภาคกลางเป็นเวลานานแล้ว จนทำนักดนตรีของล้านนาบางคนเกิดความเข้าใจผิดว่าเพลงที่ตนเองเล่นนั้นเป็นเพลงพื้นเมืองหรือเป็นเพลงไทยเดิมกันแน่ และที่สำคัญที่สุดคือการเรียกชื่อเพลงตามความเข้าใจของตนเอง บางครั้งเพลงเดียวอาจมีหลายชื่อก็ได้
ต่อมามีการนำเพลงลูกทุ่งโดยยังใช้เครื่องดนตรีเท่าที่มีอยู่บรรเลง ปัจจุบันนอกจากจะได้รับอิทธิพลเพลงสมัยใหม่ได้แก่ เพลงลูกทุ่งแล้ว ยังมีเพลงอีกประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ได้แก่ เพลงสตริง ซึ่งก็นำมาบรรเลงด้วยการนำเพลงเหล่านี้มาเล่นทำให้วงดนตรีพื้นเมืองประเภทนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสูงมากเพราะเริ่มมีการนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาประสมวงด้วย ได้แก่ กีตาร์ เบส กลองแจ๊ส (กลองชุด) กลองทอม แทมบูลีน เป็นต้น การประยุกต์เช่นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนชื่อที่เรียกไปอีกเป็น “ วงดนตรีแห่พื้นเมืองประยุกต์ ”
เท่าที่สำรวจข้อมูลมาได้ทราบว่า วงดนตรีที่มีการประยุกต์เป็นวงแรกคือ “ วงกู่เสือสามัคคี ” โดยมีแนวความคิดว่าถ้านำเครื่องดนตรีสากลมาเล่นด้วยคงดี เพราะขณะนั้นก็มีการนำทำนองเพลงสมัยใหม่มาเล่นบ้างแล้ว จึงคิดว่า ถ้าหากนำมาประสมวงแล้วอาจจะทำให้การเล่นทำนองเพลงสมัยใหม่ไพเราะยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าการประยุกต์ได้เริ่มจากการเล่นในทำนองสมัยใหม่ แต่ยังใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองบรรเลงอยู่ ต่อมาได้มีการเพิ่มเครื่องขยายเสียงและเครื่องดนตรีสากลเข้ามาร่วม(ดูเพิ่มเติมจากเรื่องที่มีชื่อเครื่องดนตรีต่าง ๆ เช่น กลอง ซึง ปี่ สะล้อ)
(ปรับปรุงจาก ข้อมูลในโครงการข้อสนเทศล้านนาคดีศึกษา โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2531)

กลองปู่จาหรือก๋องปู่จา

กลองปู่จาหรือก๋องปู่จา ก็คือ กลองบูชา นั่นเอง ซึ่งชาวเหนือหรือชาวล้านนาจะเรียก กลองปู่จา อันหมายถึงบูชา เมื่อออกเสียงโดยรวมจะเป็น “ก๋องปู่จา” กลองปู่จา จะใช้ตีเพื่อเป็นสัญญาณ บอกเหตุต่างๆ ในสังคม เช่น ไฟไหม้ มีเหตุร้ายเกิดขึ้น นัดประชุมชาวบ้าน ตลอดจน ตีเพื่อบอกกล่าวให้ทราบว่าวันรุ่งขึ้น จะเป็นวันพระ หรือตีเพื่อเป็นพุทธบูชาแต่เดิมทีชาวล้านนาจะตี กลองสะบัดชัย เพื่อฉลองชัยยามชนะศึกสงคราม รวมทั้งตีเพื่อความสนุกสนาน บทบาทของกลองสะบัดชัยนั้นถือว่าเป็นของสูง เนื่องจากว่าจะเกี่ยวพันกับเจ้าเมืองและกษัตริย์ เมื่อเจ้าเมืองล้านนาถูกลดบทบาทลง “ กลองสะบัดชัย ” ก็ถูกลดบทบาท นำไปตีกันตามวัดแทนเมื่อกลองสะบัดชัยเข้าไปอยู่ตามวัด ก็ได้ทำหน้าที่และบทบาทใหม่ขึ้นมา คือเป็นการตีเพื่อ พุทธบูชา จนได้ชื่อว่า กลองปูจา ซึ่งเป็นดั่งสัญญาณ บอกข่าวสารจากวัดในสมัยก่อน ซึ่งรวมไปถึงสัญญาณเรียกประชุม สัญญาณบอกเหตุร้ายต่างๆ ส่วนอีกหน้าที่รองของกลองปู่จาก็คือตีเป็นมหรสพ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้เห็นกันเฉพาะในงานบุญประเพณีตานก๋วยฉลาก ( สลากภัตต์ ) เท่านั้นกลองปู่จา เป็นกลองชุดของทางเหนือประกอบด้วย กลองขึงหนังสองหน้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่กับที่ แต่ใช้ตีหน้าเดียว สำหรับกลองเล็กมี 3 ใบ เรียก “กลองแซะ” หรือ “ลูกตุบ” มีขนาดลดหลั่นกันไป ปัจจุบันประเพณีการตี ก๋องปู่จา นับวันมีแต่จะลดน้อยถอยลง ที่เห็นพอหลงเหลืออยู่ก็มีในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เช่น วันเข้าพรรษากลองปู่จา เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 1-2.5 เมตร ทำด้วยไม้สัก ไม้ประดู่ หรือไม้ดอกแก้ว ขึงด้วยหนังที่ทำจากหนังวัว หรือหนังควายทั้งสองหน้าแล้วตรึงด้วยลิ่ม ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า แส้ไม้ (หมุดตอก) ทั้งสองหน้า และประกอบด้วย กลองใบเล็กอีก 3 ใบ เรียกว่า"กลองลูกตุบ"

วงแห่พื้นเมืองประยุกต์

วงแห่พื้นเมืองประยุกต์ เป็นวงที่มีการประสมวงแบบวงกลองเต่งถิ้งแต่มีการเพิ่มเครื่องดนตรีสากลเข้าไป ได้แก่ กีตาร์เบส กลองทอม กลองแจ๊ส บางแห่งอาจมีแซกโซโฟน และนอกจากนี้ยังต้องเพิ่มการใช้เครื่องขยายเสียงเข้าไปด้วย นิยมบรรเลงในงานศพ งานทรงเจ้า และงานฟ้อนผีมด-ผีเมง แต่นิยมบรรเลงต่อจากการบรรเลงโดยวงกลองเต่งถิ้งที่ประสมวงเฉพาะเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้วนๆ

การประสมวงเต่งถิ้ง

การประสมวงเต่งถิ้งในเวลาเล่นอยู่กับที่นั้น การประสมวงต้องอยู่ตามตำแหน่งเพื่อให้เสียงที่บรรเลงเกิดการกลมกลืนทางเสียง และมีความไพเราะ ในอดีตการบรรเลงในขบวนแห่ เช่น การนำศพไปป่าช้า การแห่ขบวนกฐิน หรือการแห่ขบวนผ้าป่านั้น ต้องมีการหามเครื่องดนตรี โดยเฉพาะเครื่องดนตรีที่มีน้ำหนัก เช่น กลอง พาทย์ค้อง ระนาด ฯลฯ ให้นักดนตรีบรรเลงไปตลอดทางตามตำแหน่งของการประสมวงที่ถูกต้อง โดยจัดลำดับเป็นขบวนดังนี้ อันดับที่


1 สิ่งที่แห่ (เดินนำหน้า) อันดับที่

2 กลองเต่งถิ้งคู่กับกลองป่งโป้ง อันดับที่

3 พาทย์เหล็ก (ระนาดเหล็ก) อันดับที่

4 พาทย์ค้อง (ฆ้องวงใหญ่) อันดับที่


5 พาทย์ไม้ (ระนาดเอก) อันดับที่

6 สว่า (ฉาบ) ส่วนปี่แนหน้อยและแนหลวงจะเดินขนาบข้างพาทย์เหล็ก โดยมีตำแหน่งของเครื่องดนตรีต่าง ๆ ดังนี้


















สิ่งที่แห่ (หมายเหตุ สมัยก่อนยังไม่ได้นำระนาดทุ้มมาบรรเลงประกอบ) โอกาสที่ใช้ชุดกลองเต่งถิ้งบรรเลง วงดนตรีชุดกลองเต่งถิ้งใช้บรรเลงทั้งในงานมงคล และงานอวมงคล อาทิ งานบุญต่าง ๆ เช่น งานปอยหลวง ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การถวายทานสลากภัตต์ งานที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นบ้านล้านนา เช่น งานฟ้อนผีมด ผีเม็ง งานฟ้อนผีเจ้านาย และงานศพ รวมทั้งใช้บรรเลงประกอบการชกมวย หรือการต่อสู้แบบล้านนาเพลงที่บรรเลง
ในสมัยก่อน เพลงที่ใช้ชุดวงกลองเต่งถิ้งบรรเลงเป็นเพลงพื้นเมือง ได้แก่ เพลงแหย่งหลวง แหย่งน้อย ปราสาทไหว ล่องแม่ปิง และเพลงลาว เช่น ลาวกระแซ ลาวดวงเดือน ลาวเสี่ยงเทียน หรือเพลงอัตราสองชั้นของภาคกลางที่พอจะจดจำเอามาเล่นได้ อาทิ สร้อยสนตัด และมอญดูดวง เป็นต้น โดยบรรเลงให้เหมาะสมกับงานนั้น กล่าวคือในงานศพจะเล่นเพลงพื้นเมือง หรือเพลงที่ออกทำนองเศร้าสลด เช่น เพลงธรณีกรรแสงพม่าแปลง ส่วนงานบุญต่าง ๆ จะเล่นเพลงพื้นเมือง เพลงลาว ซึ่งเป็นเพลงในจังหวะอัตราสองชั้น อนึ่งในการบรรเลงประกอบการฟ้อนผีมด ผีเม็ง หรือผีเจ้านายนั้น วงกลองเต่งถิ้งจะมีเพลงพิเศษใช้บรรเลงเป็นการเฉพาะ ตามลำดับดังนี้

1. เพลงห้อย บรรเลงขณะที่เจ้าภาพกำลังจะ “ห้อยผ้า” หรือไปโหนผ้าที่โยงจากขื่อของปะรำพิธีเพื่อให้ผีเข้าสิงหรือเข้าทรง


2. เพลงพื้นเมืองและเพลงประเภทลาวต่าง ๆ ซึ่งเป็นเพลงในจังหวะอัตราสองชั้นใช้บรรเลง ขณะที่ผู้เข้าทรงออกฟ้อนนอกปะรำพิธี


3. เพลงขมุกินน้ำมะพร้าว บรรเลงขณะที่ผู้เข้าทรงกำลังดื่มน้ำมะพร้าวตามพิธี (บางตำราว่าเพลงผีมดกินน้ำมะพร้าว)


4. เพลงรำมวย (แขกวรเชฏฐ์ 2 ชั้น) และเพลงมวย (แขกวรเชฏฐ์ชั้นเดียว) บรรเลงขณะที่ผู้เข้าทรงรำหอกหรือรำดาบ

5. เพลงฟ้อนผีมด บรรเลงทั่วไปขณะที่มีการฟ้อนผีมดทั้งนี้ในการชกมวยหรือการฟ้อนในลีลาของการต่อสู้นั้น วงกลองเต่งถิ้งจะบรรเลง โดยใช้เพลงรำมวยและเพลงมวย
พัฒนาการของวงเต่งถิ้ง
สมัยแรกๆ เครื่องดนตรีใช้ชุดของวงกลองเต่งถิ้งประกอบด้วย ปี่แนหน้อย ปี่แนหลวง ระนาดเหล็ก ระนาดเอก โดยมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองเต่งถิ้ง กลองป่งโป้ง สว่า หรือฉาบ ในระยะต่อมาได้มีการเพิ่มระนาดทุ้มเข้ามาร่วมในวงดนตรีประเภทนี้อีก เพื่อให้ครบวงเหมือนวงดนตรีไทยภาคกลาง ส่วนเพลงที่ใช้บรรเลงเป็นเพลงพื้นเมือง และเพลงที่เป็นจังหวะอัตราสองชั้นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ต่อมาในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2530 ได้มีผู้ทดลองนำเอาเพลงลูกทุ่งมาบรรเลงด้วยวงกลองเต่งถิ้ง ดังที่วงเต่งถิ้งคณะวังสิงห์คำใต้ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ไปบรรเลงออกอากาศที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ เพลงแรกที่บรรเลง คือ เพลงฝนเดือนหกของรุ่งเพชร แหลมสิงห์ โดยให้ปี่แนหน้อยแทนเสียงคนร้อง ปี่แนใหญ่แทนเสียงทุ้ม ระนาดและฆ้องเป็นเสียงดนตรี ปรากฏว่าได้รับความนิยมมาก หลังจากนั้นวงกลองเต่งถิ้งคณะกู่เสือ ศรีโพธาราม หนองแฝก และวงกู่แดง ได้เลียนแบบบ้าง และได้มีการนำเครื่องดนตรีสากลมาบรรเลงผสม เช่น กลองชุด เบส และกีตาร์ เป็นต้น

วงกลองเต่งถิ้ง

วงกลองเต่งถิ้ง หรือมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อว่า วงพาทย์ วงพาทย์ค้อง (อ่าน “ ป้าดก๊อง ” ) หรือ วงแห่ (ศพ) เป็นต้น สามารถเปรียบได้กับ “ วงปี่พาทย์มอญ ” แบบของภาคกลางนั่นเอง เครื่องดนตรีประกอบด้วย พาทย์เอก (ระนาดไม้เอก) พาทย์ทุ้ม (ระนาดไม้ทุ้ม) พาทย์เหล็ก (ระนาดเหล็ก) พาทย์ค้อง (ฆ้องวง) กลองเต่งถิ้ง (ตะโพนมอญ) หรือกลองโป่งป้ง กลองตัด (กลองขนาดเล็ก) แนหลวง แนน้อย ฉิ่ง สว่า (ฉาบ) และกรับ นิยมบรรเลงในการชกมวย งานศพ งานทรงเจ้า และในงานฟ้อนผีมด-ผีเมง
วงกลองเต่งถิ้ง ชาวลำปางเรียกวงปี่พาทย์พื้นบ้านของตนว่า วงพาทย์ บางครั้งเรียกว่า วงกลองทึ่งทัง อันเป็นการเรียกตามเครื่องดนตรี คือ กลองทึ่งทัง หรือตะโพนมอญ ซึ่งเป็นเครื่องชิ้นเด่นในวงที่ให้เสียงกระหึ่มกังวานได้ยินในระยะไกล วงพาทย์มีเอกลักษณ์เกี่ยวกับ แบบแผนการประสมวง และการบรรเลงแบบลำปางโดยเฉพาะ แม้ว่าจะมีวงพาทย์แบบนี้อยู่ตามจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือก็ตาม วงพาทย์ลำปางมีเอกลักษณ์โดยสังเขป ดังนี้ แนหน้อย ดำเนินทำนองในทางของแนหน้อย เสียงของแนหน้อยตรงกับฆ้องลูกที่ ๘ แนหลวง ดำเนินทำนองในทางของแนหลวง เสียงของแนหลวงตรงกับฆ้องลูกที่ ๕ กลองทึ่งทังหรือตะโพนมอญ ตีทำจังหวะ โดยมีหน้าทับทั้งแบบหน้าทับทั่วไป และหน้าทับเฉพาะเพลง ประการสำคัญต้องทำหน้าที่เป็นเสียงประสานยืนด้วย กลองฮับ (รับ) เป็นกลองสองหน้าขนาดเล็ก ๆ ใช้วางบนตักตีสอดรับกับกลองทึ่งทัง สว่าหรือฉาบใหญ่ มีหน้าที่ตีขัดจังหวะ เมื่อเทียบกับจังหวะของฉิ่งในดนตรีไทยแล้ว สว่าจะตีลงที่เสียงฉิ่งให้เสียงดังสว่า ส่วนตรงเสียงฉับของการตีฉิ่งนั้น จะตีสว่าเพียงเบา ๆ จึงเป็นการขืนจังหวะอันเป็นแนวคิดที่กลับกันกับจังหวะของฉิ่งในดนตรีไทย สิ้ง มีหน้าที่ทำจังหวะ โดยมีแบบแผนการตีสิ้งแตกต่างไปจากฉิ่งของดนตรีแบบภาคกลาง ไม้เหิบ หรือตะขาบ ทำหน้าที่ตบให้จังหวะลูกตกส่วนที่เป็นจังหวะหนักของห้องเพลง ใช้ประสมวงเฉพาะการฟ้อนผีเท่านั้น พาทย์ (ฆ้องวงใหญ่) ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก และเล่นในส่วนที่เป็นรายละเอียด ไม่ได้มีหน้าที่เดินทำนองหลักตามหลักวิชาของฆ้องวงใหญ่ เนื่องจากว่าแต่เดิมวงพาทย์เมืองเหนือยังไม่มีระนาดเข้ามาประสมวง



วงมองเซิง

วงมองเซิง คำว่า “ มองเซิง ” เป็นภาษาไทใหญ่ แปลงว่าฆ้องชุด ประกอบด้วยฆ้องขนาดต่างๆ ๓ ใบขึ้นไปและฉาบใหญ่ ๑ คู่ วงมองเซิงมีลักษณะการประสมวงและใช้แสดงคล้ายกับวงกลองปูเจ่ แต่ใช้กลองมองเซิงประกอบวงแทนกลองปูเจ่


วงกลองปูเจ่

วงกลองปูเจ่ เป็นเครื่องดนตรีของไทยใหญ่ ปกติจะไม่บรรเลงเดี่ยวแต่จะใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น เช่น ฉาบ โหม่ง วงกลองปู่เจ่ ซึ่งมีจังหวะในการตีที่เร็วและเร้าใจ จะใช้ประกอบการแสดงฟ้อนเจิง ฟ้อนดาบ ตลอดจนถึงการเต้นนกกิ่งกะหล่า กลองปู่เจ่เป็นกลองขึงหน้าเดียว มีลักษณะคล้ายกลองยาวของภาคกลาง แต่มีความยาวมากกว่า หน้ากว้างประมาณ 10 - 12 นิ้ว ตัวกลองมีความยาวประมาณ 2 เมตร มีตำนานเล่าว่ายังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งในอาณาจักรล้านนา เจ้าเมืองมีลูกสาวชื่อว่าเส็ง เป็นลูกสาวคนเดียว เจ้าเมืองเมืองนี้ได้รับเอาทหารต่างเมืองมาเป็นครูฝึกวิชาการต่อสู้ ทหารผู้นี้มีความชำนาญเป็นอย่างมาก และเป็นที่รักใคร่ของเจ้าเมืองได้เกิดการชอบพอรักใคร่กับลูกสาวเจ้าเมืองเข้า จนในที่สุดจึงพากันหนีออกจากเมืองไป และเจ้าเมืองๆนี้ยังมีที่ปรึกษาอยู่อีกคนหนึ่งชื่อว่าป่อเจ่ ในเมื่อลูกสาวได้หนีไปกับครูฝึกทหาร เจ้าเมืองจึงได้มาปรึกษากับป่อเจ่ว่าจะทำอย่างไรดี ป่อเจ่มีความเสียดายในฝีมือของครูฝึกทหาร และลูกสาวเจ้าเมือง จึงคิดหาวิธีที่จะให้ครูฝึกทหารและลูกสาวเจ้าเมืองกลับมาแต่โดยดี จึงคิดหาอุบายโดยการให้ครูฝึกทหารบวชเป็นลูกแก้วเข้าเมืองมา พร้อมกับลูกสาวเจ้าเมืองก็ถือขันดอกไม้มาส่ง พร้อมกับชาวบ้านด้วย เมื่อคิดได้ดังนี้แล้วจึงได้ส่งสารไปหาลูกสาวและครูฝึกทหาร ให้ทำตามที่คิดไว้ โดยการบวชลูกแก้วและมีพิธีแห่เข้าเมืองมาด้วย แต่ในการแห่ลูกแก้วในครั้งนั้นยังไม่มีกลองที่จะใช้ตีร่วมแห่ขบวน ป่อเจ่จึงได้คิดทำกลองขึ้นมาแห่ร่วมขบวนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นกลองก้นยาวคล้ายกลองแอว แต่มีขนาดเล็กกว่าซึ่งสามารถใช้สะพายบ่าตีได้ ใช้ตีร่วมกับฉาบและโหม่ง ต่อมาภายหลังจึงให้ชื่อกลองชนิดนี้ว่า “กลองปู่เจ่” ตามชื่อของคนคิด

วงกลองสะบัดชัย

วงกลองสะบัดชัย มีลักษณะการบรรเลง ๒ แบบ


แบบที่ ๑ คือกลองสะบัดชัย มีกลองใหญ่ ๑ ใบ มีกลองเล็กเรียกว่า “ ลูกตุบ ” อีก ๓ ใบ ใช้ผู้ตีคนเดียว มือซ้ายถือไม้แสะ มือขวาถือไม้ตีที่หุ้มด้วยผ้าพันหลายๆ รอบ ตีสลับกันไปและมีคนตีฆ้องโหม่ง ๑ ใบ ตีประกอบจังหวะ ต่อมามีการเพิ่มเป็นฆ้อง ๒ ใบ และมีฉาบอีก ๑ คู่



แบบที่ ๒ เป็นกลองสะบัดชัยแบบครูคำ กาไวย์ ซึ่งมีกลองใหญ่ใบเดียวไม่มี “ ลูกตุบ ” มีคานหาม ใช้ผู้หาม ๒ คน มีคนตีฆ้อง ๒ คน และคนตีฉาบอีก ๑ คน ตีประกอบ การตีกลองต้องให้เข้าจังหวะกับฆ้องและฉาบ เริ่มตีจากจังหวะช้าและเร็วขึ้นตามลำดับ ผู้ตีกลองจะแสดงท่า “ ฟ้อนเชิง ” พลิกแพลงผาดโผนต่างๆ รวมทั้งใช้ศีรษะ ไหล่ ศอก เข่า และเท้า แทนการใช้ไม้ตีอีกด้วย





วงกลองแอว

งกลองแอว หรือ วงตึ่งนง ประกอบด้วย กลองแอว กลองตะหลดปด ฆ้องอุ้ย ฆ้องโหย้ง ฉาบใหญ่ แนหลวง และแนน้อย นิยมใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียนหรือฟ้อนแห่ครัวทานและบรรเลงในขบวนแห่ต่างๆ




วงปี่ชุม(ปี่จุม)

วงปี่ชุม(ปี่จุม) เป็นวงดนตรีที่ใช้เล่นประกอบการแสดง “ ซอ ” ของภาคเหนือ มีปี่เป็นชุด ซึ่งมี ๓ แบบ คือ

ปี่ชุม ๓ ปี่ชุม ๔ และปี่ชุม ๕

ปี่ชุม ๓ หมายถึง การใช้ปี่ ๓ ขนาด เป่าประสานเสียงกัน ได้แก่ ปี่แม่ ปี่กลางและปี่ก้อย

ปี่ชุม ๔ หมายถึง การใช้ปี่ ๔ ขนาด เป่าประสานเสียงกัน ได้แก่ ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อยและปี่ตัด(ปี่เล็ก)

ปี่ชุม ๕ หมายถึง การใช้ปี่ ๕ ขนาด เป่าประสานเสียงกัน โดยเพิ่มปี่ขนาดเล็กสุดเข้ามาอีกหนึ่งเลา แต่โดยปกติไม่ค่อยนิยมกัน เพราะใช้ปี่ชุม ๓ หรือ ชุม ๔ ก็ได้เสียงประสานกันที่ไพเราะอยู่แล้ว
วงปี่ชุมอาจใช้สะล้อ – ซึง ประสมวงด้วย เพื่อเพิ่มความไพเราะ นอกจากนี้ก็อาจใช้ปี่แม่เลาเดียวกันเล่นประกอบวงสะท้อ-ซึงก็ได้



วงสะล้อ ซอ ซึง ( วงสะล้อ-ซึง )


ประวัติวงสะล้อซอซึง
วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล่อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพราะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถึอว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่นล้านนา ชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอซึง บ้างก็เรียก วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง ( ขลุ่ยตาด ) หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง ( ซอ ) ประกอบโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองขอแยกความหมายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้สะล้อ เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการสีซอ เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนา หมายถึง การขับร้องเพลง ซึง เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่น



เป็นวงที่มีเสียงจากเครื่องสายเป็นหลัก นิยมใช้เล่นกันตามท้องถิ่นภาคเหนือทั่วไป จำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้ประสมวงไม่แน่นอนแต่จะมีสะล้อและซึงเป็นหลักเสมอ มีเครื่องดนตรีอื่นๆที่เข้ามาประกอบ เช่น ปี่ก้อยหรือขลุ่ย กลองตัด(ตะโพน) ฉิ่ง ฉาบ ใช้บรรเลงเพลงพื้นบ้านที่ไม่มีการขับร้อง เช่น เพลงปราสาทไหว เพลงล่องแม่ปิง เป็นต้น และสามารถใช้บรรเลงเพลงสมัยใหม่ก็ได้





เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงสะล้อ ซอ ซึง มีดังนี้


  1. 1. ซึงใหญ่
    2. ซึงกลาง
    3. ซึงเล็ก
    4. สะล้อกลาง
    5. สะล้อเล็ก
    6. กลองพื้นเมือง
    7. ขลุ่ยพื้นเมือง
    8. ฉิ่ง
    9. ฉาบ

วงพิเศษในสมัย ร. 9

** นอกจากนี้ ยังมีวงพิเศษในสมัย ร. 9 ของเรา ได้เกิดวงมหาดุริยางค์ขึ้น ในงานครบรอบ 100 ปี ของหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ( ศร ศิลปะบรรเลง ) ใช้ผู้บรรเลงถึง 600 คนเศษ



วงบรรเลงพิณ เป็นการบรรเลงเดี่ยว พิณน้ำเต้า


วงขับไม้บรรเลงโดยใช้ ซอสามสายและบัณเฑาะว์



วงปี่กลองมลายูและวงปี่กลองแขกมี 3 วง


-วงปี่กลองมลายู(กลองสี่ปี่หนึ่ง)มี่ ปี่ชวา 1 เลา, กลองมลายู 4 ลูก, เหม่ง



-วงบัวลอย มีปี่ชวา 1 เลา, กลองมลายู 2 ลูก, เหม่ง



-วงปี่กลองแขก (ปี่ชวากลองแขก) มีปี่ชวา 1 เลา, กลองแขก 1 คู่, ฆ้องโหม่ง(ภายหลังเปลี่ยนเป็นฉิ่ง)
วงดนตรีเบ็ดเตล็ดอื่นๆ


-วงแคนแบ่งเป็น แคนเดี่ยว, แคนวง1.แคนเดี่ยว ใช้แคน 1 ดวง




2.แคนวง มี 3 ขนาด



2.1แคนวงเล็ก


ใช้แคนขาดใหญ่ 2 ดวง , ขนาดกลาง 2 ดวง, ขนาดเล็ก 2 เล็ก (รวมแคน 6 ดวง )


2.2แคนวงกลาง แบ่งย่อยเป็นแคน 8 ดวง และแคน 10 ดวง-แคน 8ดวง ใช้แคนขาดใหญ่ 2 ดวง , ขนาดกลาง 3 ดวง, ขนาดเล็ก 3 เล็ก-แคน 10 ดวง ใช้แคนขาดใหญ่ 4 ดวง , ขนาดกลาง 4 ดวง, ขนาดเล็ก 2 เล็ก หรือ (ใช้แคนขาดใหญ่ 2 ดวง , ขนาดกลาง 4 ดวง, ขนาดเล็ก 4 เล็ก)


2.3แคนวงใหญ่ ใช้แคนขาดใหญ่ 4 ดวง , ขนาดกลาง 4 ดวง, ขนาดเล็ก 4 เล็ก(รวมแคน 12 ดวง )

3.วงลำตัด เป็นการละเล่นของภาคกลาง มี รำมะนา กรับ ฉิ่ง บรรเลง สลับการร้อง




4. วงกลองสบัดชัย เป็นการแสดง พื้นเมืองภาค มีตำนานมากจากการตีก่อนออกรบ ยกทัพ จับศึก เพื่อให้เกิดความหึกเหิม มี กลองสบัดชัย ฉาบหลวง โหม่ง



เครื่องดนตรีท้องถิ่นของแต่ละภาคที่ควร รู้จัก




วงมโหรีวงมโหรี

วงมโหรีวงมโหรี เป็นวงที่เกิดจากการผสมกัน ระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย ตัดเครื่องดนตรีทีมีเสียงดังออก ย่อขนาดเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ให้มีขนาดเล็กลงและเพิ่มซอสามสาย วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า แบ่งตามขนาด ดังนี้

1.วงมโหรีวงเล็ก



ประกอบด้วย ระนาดเอกมโหรี ฆ้องวงใหญ่มโหรี จะเข้ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง


2. วงมโหรีเครื่องคู่
ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอสามสาย ซอสามสายหลีบ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง

3. วงมโหรีเครื่องใหญ่



ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ซอสามสาย 2 คัน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่งยังมีวงมโหรี ที่ประยุกต์ให้ขนาดของวงมีความเหมาะสมกับงาน ดังรูปภาพต่อไปนี้

วงเครื่องสาย

วงเครื่องสายวงเครื่องสาย หมายถึง วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและกำกับจังหวะประกอบ มีหลายขนาด ดังนี้



1.วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย จะเข้ ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ยเพียงออ โทน รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง




2. วงเครื่องสายเครื่องคู่

ประกอบด้วย จะเข้ 2 คัน ซออู้ 2 คัน ซอด้วง 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ โทน กรับ รำมะนา ฉาบเล็ก ฉิ่ง โหม่ง




3.วงเครื่องสายผสม คือ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายแบบธรรมดา และนำเครื่องดนตรีอื่นมาผสม เช่น "วงเครื่องสายขิม" จะนำขิมมาบรรเลงร่วม




4.วงเครื่องสายปี่ชวา คือ ปรับปรุงมาจาก " วงกลองแขกเครื่องใหญ่ " ใช้ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ปี่ อ้อ ปี่ชวา กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ ต่อมาเปลี่ยนขลุ่ยหลิบมาแทนปี่อ้อ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น " เครื่องสายปี่ชวา "

วงปี่พาทย์

วงปี่พาทย์ หมายถึง วงที่เกิดจากการประสมวงกันระหว่างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีหลายรูปแบบดังนี้



1. วงปี่พาทย์ชาตรี

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียก " ปี่พาทย์เครื่องห้าชนิดเบา " เพราะมีน้ำหนักเบา ใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรีต่อมาจึงเรียกชื่อตามละคร ใช้เครื่องดนตรี ดังนี้ ปี่นอก ฆ้องคู่ กลองชาตรี โทนชาตรี ฉิ่ง



2. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง


เป็วงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตีนิยมบรรเลงทั่วไปเช่นบรรเลงดนตรีล้วนๆ หรือประกอบการขับร้อง มี 3 ขนาด ดังนี้


2.1 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องห้า

ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด


2.2 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่

ปี่นอก ปี่ใน ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก กรับ โหม่ง



2.3 วงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องใหญ่

ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ โหม่ง

3. วงปี่พาทย์ไม้นวม
เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องดนตรี ที่ใช้ ขลุ่ยเพียงออ ซออู้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่ กลองตะโพน ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ( ระนาด ใช้ไม้นวมตี)


4. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น ใช้ประกอบละครดึกบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ ขลุ่ยเพียงออ ตะโพนกลอง ตะโพน กลองแขก ฆ้องหุ่ย 7 ใบ


5. วงปี่พาทย์มอญ

เดิมเป็นของมอญ ใช้ทั้งงานมงคลและอวมงคล แต่ปัจจุบันจะใช้บรรเลงเฉพาะงานศพเท่านั้น มีขนาดต่างกันดังนี้.


5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า

ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ระนาดเอก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง


5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่






ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ


5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่


ประกอบด้วย ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ปี่มอญ เปิงมางคอก ตะโพนมอญ โหม่งมอญ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ


6. วงปี่พาทย์นางหงส์


เป็นวงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลง ใน งานศพเท่านั้น เครื่องดนตรีที่ใช้ ปี่ชวา ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองมลายู ฉิ่ง ฉาบ โหม่งยังมีวง ปี่พาทย์ที่ต้องการให้ขนาดของวงมีความเหมาะสมกับงาน ดังรูปภาพต่อไปนี้