ทำไมคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเภทเครื่องดีด

ประเภทเครื่องดีดด้แก่ เครื่องดนตรีที่มีสายเสียงเป็นสะพานวางสาย แล้วใช้ไม้ตัดปลายแหลมทู่ เป็นเครื่องมือดีดสายร่วมกับใช้นิ้วมือซึ่งจะคอยกดปิดเปิดเสียงตามฐานเสียงระดับต่างๆเครื่องดนตรีประเภทดีด ซึ่งยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน คือ จะเข้ นอกจากนั้นก็เป็น พิณ และ กระจับปี่ ซึ่งมีผู้นำมาบรรเลงบ้างเป็นครั้งคราว



พิณเพี๊ยะ(ภาคเหนือ) เครื่องดนตรีในพระราชพิธี มีลักษณะคล้ายกับพิณน้ำเต้า แต่ประดิษฐ์ให้มีสายเพิ่มขึ้น 2 ถึง 4 สาย ตามที่ปรากฏในท้องถิ่นภาคเหนือ ผู้เล่นนิยมดีดคลอไปกับการขับร้องของตนเอง นิยมดีดพิณเพี๊ยะในขณะที่ไปเกี้ยวจีบสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำ ปัจจุบันยังมีการเล่นบ้าง เฉพาะทางภาคเหนือ เท่านั้นเอง


พิณน้ำเต้า (ภาคเหนือ) เครื่องดนตรีในพระราชพิธีพิณน้ำเต้าเป็นพิณสายเดียว ทำจากลูกน้ำเต้า และต่อมาได้ดัดแปลงเป็นพิณหลายสาย การเล่นพิณน้ำเต้า ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นชาย เวลาเล่นจะไม่สวมเสื้อ ใช้ส่วนที่ทำจากน้ำเต้า กดทับลงที่หน้าอก ใช้ดีดประสานเสียงกับเสียงซอของ




กระจับปี่ (ภาคกลาง) เครื่องดนตรีในพระราชพิธี เป็นพิณชนิดหนึ่งมี 4 สาย เหตุที่เรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า “กระจับปี่” เพราะว่าเสียงที่เรียก เพี้ยนมาจากคำว่า “กัจฉปิ” ซึ่งเป็นภาษาชวา เพี้ยนมาจากอีกต่อหนึ่งของภาษาบาลีว่า “กัจฉปะ” แปลว่า “เต่า” นิยมนำไปเล่นรวม ในวงมโหรีในสมัยก่อน แต่เนื่องจากกระจับปี่มีเสียงเบา และมีน้ำหนักมาก เพราะทำจากไม้แก่น ถือติดพกไปไหนไม่สะดวก จึงไม่มีผู้นิยมนำมาเล่น ต่อมา กระจับปี่จึงหายไปจากวงดนตรีไทย


พิณอีสาน พิณมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ซุง ซึง หมากจับปี่ หมากตดโต่ง หมากตับเต่ง เป็นต้น พิณทำด้วยไม้ เช่น ไม้ขนุน (ไม้บักมี่)เพราะมีน้ำหนักเบาและให้เสียงทุ้มกังวานไพเราะกว่าไม้ชนิดอื่น มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่ฝีมือหยาบกว่า พิณอาจจะมี 2 สาย 3 สาย หรือ 4 สายก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น2 คู่ เป็นสายเอก 2 สาย และสายทุ้ม 2 สาย ดั้งเดิมใช้สายลวดเบรครถจักรยานเพราะคงทนและให้เสียงดังกว่าสายชนิดอื่น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทนการขึ้นสายไม่มีระบบแน่นอน นมหรือขั้นที่ใช้นิ้วกดบังคับระดับเสียงจะไม่ฝังตายตัวเหมือนกีตาร์หรือแมนโดลิน การเล่นก็เล่นเป็นเพลงเรียกว่าลายโดยมากพิณจะเล่นคู่กันกับแคน














ซึง (ภาคเหนือ) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ใช้วิธีเล่นโดยการดีด สมัยก่อนใช้สายลวดเส้นเล็ก ๆ หรือสายเบรกรถจักยาน แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายกีตาร์แทน ซึงของชาวเหนือเป็นพิณแบบสายคู่ โดยแบ่งเป็นสายบน และคู่สายล่าง (สายบน - สายลุ่ม) มีลูกนับแบ่งเป็นช่อง ๆ คล้ายกีตาร์ ซึงมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และยังมีขนาดใหญ่มาก ๆ เรียกกันว่า ซึงหลวง แต่นิยมเล่นกันทั่วไปมักเล่นเพียง ๓ ขนาด คือ ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึงใช้เล่นเพื่อให้เสียงประสาน และตัดกัน ในการเล่นเป็นกลุ่ม หรือคณะ หรือเล่นบรรเลงเดี่ยวโดยเลือกขนาดที่ชอบของแต่ละบุคคล ซึงแต่ละขนาดต่างมีสำเนียงเฉพาะตัว มีความไพเราะ คนละรูปแบบส่วนประกอบของซึง

จะเข้
เป็นเครื่องดีดที่ได้ดัดแปลงแก้ไขมาจากพิณ โดยประดิษฐ์ให้นั่งดีดได้สะดวกและให้ไพเราะยิ่งขึ้น โดยเหตุที่แต่เดิมนั้นตัวทำเป็นรูปร่างอย่างจระเข้ จึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนี้สั้น ๆ ว่า “จะเข้” สมัยต่อมา จะเข้มี 3 สาย สายหนึ่งทำจากทองเหลือง อีกสองสายทำด้วยไหมถักหรือสายเอ็น ไม้ดีดทำด้วยงาช้างหรือกระดูกของสัตว์ มีลักษณะกลมปลายแหลม ไทยเรารู้จักเล่นจะเข้มาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มตั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เพิ่งนำมาผสมเข้ากับวงเครื่องสายและมโหรี เมื่อสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่า จะเข้เป็นเครื่องดนตรีไทย ที่เหมาะสำหรับเดี่ยวก็ได้ปัจจุบัน จะเข้ นับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่คุ้นหูคุ้นตาชนิดหนึ่งมีกระแสเสียงก้องกังวานและไพเราะเป็นที่นิยมแพร่หลายในวงการดนตรีไทยทั่ว ไป
ไหซอง


เป็นเครื่องดนตรีประเภทคุมจังหวะ ให้เสียงทุ้มต่ำ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความโตของไหที่ใช้ และความตึงหย่อนของหนังยางที่ขึงพาดอยู่ปากไห ไหซอง โดยทั่วไป นิยมใช้บรรจุปลาร้า เกลือ และหมักสาโท ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ใครเป็นผู้นำไหซอง มาทำเป็นเครื่องดนตรีคนแรกไหซอง ทำเป็นเครื่องดนตรี ได้โดย ใช้สายยาง หรือสายหนังสะติ๊ก (สมัยก่อน ใช้ยางในรถจักรยาน หรือยางในล้อรถ ต่อมาใช้ยางหนังสะติ๊ก) ขึงให้ตึงพาดผ่านปากไห และมัดยึดปลายสองด้านไว้กับคอไห ปรับความตึงของหนังยางให้พอเหมาะ เวลาจะเล่น ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เกี่ยวดึงสายหนังยางขึ้นมาแล้วปล่อย เสียงที่ได้จากการดึงปล่อยหนังยาง จะดังทุ้มต่ำ คล้ายเสียงเบส สมัยก่อนนั้น ยังไม่มีเบส จึงใช้ไหซองแทนเสียงเบส โดยจำนวนไหที่นิยมใช้ ประมาณ ๔-๕ลูก ปรับระดับคีย์เสียงให้เหมาะสมกับเสียงดนตรีหลัก โดยปรับความตึงของหนังยาง วางเรียงไหบนขาตั้งไห จากใหญ่ไปหาเล็ก และผู้บรรเลงไหซอง ก็เป็นผู้ชายเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ วงโปงลางในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ใช้เบส คุมจังหวะ จึงไม่มีการดีดไหซองจริงๆ ซึ่งไหซองในปัจจุบัน เป็นเพียงโชว์ลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำแบบอ่อนช้อยแพรวพราว ดังนั้น จึงนิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีดไห เรียกว่า นางดีดไห หรือนางไห และนางไหนี่เอง ถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น