ทำไมคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วงสะล้อ ซอ ซึง ( วงสะล้อ-ซึง )


ประวัติวงสะล้อซอซึง
วงสะล้อ ซอ ซึง หมายถึง วงดนตรี ที่นำเอาเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสายของภาคเหนือ คือ ซึงสะล่อ และเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงรวมกันเป็นวง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในภาคเหนือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีอยู่เฉพราะในภาคเหนือตอนบนเท่านั้นถึอว่าเป็นวงดนตรีพื้นบ้านของท้องถิ่นล้านนา ชื่อเรียกของวงดนตรี บางครั้งเรียก วงสะล้อ ซอซึง บ้างก็เรียก วง ซึง สะล้อ คงจะเป็นเพราะวงสะล้อ ซอซึง ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ในการบรรเลง มีการนำเอาขลุ่ยพื้นเมือง ( ขลุ่ยตาด ) หรือปี่จุ่มมาบรรเลงร่วมด้วย บางครั้งมีการขับร้องเพลง ( ซอ ) ประกอบโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองขอแยกความหมายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้สะล้อ เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่นโดยการสีซอ เป็นภาษาพื้นบ้านล้านนา หมายถึง การขับร้องเพลง ซึง เป็นเครื่องดนตรี ประเภทเครื่องสาย ที่ใช้วิธีการเล่น



เป็นวงที่มีเสียงจากเครื่องสายเป็นหลัก นิยมใช้เล่นกันตามท้องถิ่นภาคเหนือทั่วไป จำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้ประสมวงไม่แน่นอนแต่จะมีสะล้อและซึงเป็นหลักเสมอ มีเครื่องดนตรีอื่นๆที่เข้ามาประกอบ เช่น ปี่ก้อยหรือขลุ่ย กลองตัด(ตะโพน) ฉิ่ง ฉาบ ใช้บรรเลงเพลงพื้นบ้านที่ไม่มีการขับร้อง เช่น เพลงปราสาทไหว เพลงล่องแม่ปิง เป็นต้น และสามารถใช้บรรเลงเพลงสมัยใหม่ก็ได้





เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงสะล้อ ซอ ซึง มีดังนี้


  1. 1. ซึงใหญ่
    2. ซึงกลาง
    3. ซึงเล็ก
    4. สะล้อกลาง
    5. สะล้อเล็ก
    6. กลองพื้นเมือง
    7. ขลุ่ยพื้นเมือง
    8. ฉิ่ง
    9. ฉาบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น