ทำไมคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กลองปู่จาหรือก๋องปู่จา

กลองปู่จาหรือก๋องปู่จา ก็คือ กลองบูชา นั่นเอง ซึ่งชาวเหนือหรือชาวล้านนาจะเรียก กลองปู่จา อันหมายถึงบูชา เมื่อออกเสียงโดยรวมจะเป็น “ก๋องปู่จา” กลองปู่จา จะใช้ตีเพื่อเป็นสัญญาณ บอกเหตุต่างๆ ในสังคม เช่น ไฟไหม้ มีเหตุร้ายเกิดขึ้น นัดประชุมชาวบ้าน ตลอดจน ตีเพื่อบอกกล่าวให้ทราบว่าวันรุ่งขึ้น จะเป็นวันพระ หรือตีเพื่อเป็นพุทธบูชาแต่เดิมทีชาวล้านนาจะตี กลองสะบัดชัย เพื่อฉลองชัยยามชนะศึกสงคราม รวมทั้งตีเพื่อความสนุกสนาน บทบาทของกลองสะบัดชัยนั้นถือว่าเป็นของสูง เนื่องจากว่าจะเกี่ยวพันกับเจ้าเมืองและกษัตริย์ เมื่อเจ้าเมืองล้านนาถูกลดบทบาทลง “ กลองสะบัดชัย ” ก็ถูกลดบทบาท นำไปตีกันตามวัดแทนเมื่อกลองสะบัดชัยเข้าไปอยู่ตามวัด ก็ได้ทำหน้าที่และบทบาทใหม่ขึ้นมา คือเป็นการตีเพื่อ พุทธบูชา จนได้ชื่อว่า กลองปูจา ซึ่งเป็นดั่งสัญญาณ บอกข่าวสารจากวัดในสมัยก่อน ซึ่งรวมไปถึงสัญญาณเรียกประชุม สัญญาณบอกเหตุร้ายต่างๆ ส่วนอีกหน้าที่รองของกลองปู่จาก็คือตีเป็นมหรสพ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้เห็นกันเฉพาะในงานบุญประเพณีตานก๋วยฉลาก ( สลากภัตต์ ) เท่านั้นกลองปู่จา เป็นกลองชุดของทางเหนือประกอบด้วย กลองขึงหนังสองหน้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่กับที่ แต่ใช้ตีหน้าเดียว สำหรับกลองเล็กมี 3 ใบ เรียก “กลองแซะ” หรือ “ลูกตุบ” มีขนาดลดหลั่นกันไป ปัจจุบันประเพณีการตี ก๋องปู่จา นับวันมีแต่จะลดน้อยถอยลง ที่เห็นพอหลงเหลืออยู่ก็มีในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เช่น วันเข้าพรรษากลองปู่จา เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ ความยาวประมาณ 1-2.5 เมตร ทำด้วยไม้สัก ไม้ประดู่ หรือไม้ดอกแก้ว ขึงด้วยหนังที่ทำจากหนังวัว หรือหนังควายทั้งสองหน้าแล้วตรึงด้วยลิ่ม ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า แส้ไม้ (หมุดตอก) ทั้งสองหน้า และประกอบด้วย กลองใบเล็กอีก 3 ใบ เรียกว่า"กลองลูกตุบ"

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น