ทำไมคนรุ่นใหม่ ไม่สนใจศิลปวัฒนธรรมไทย

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

เครื่องตีที่ทำด้วยไม้


โปงลาง














(อิสาน)มีลักษณะวิธีการบรรเลงคล้ายกับระนาดเอก คือนำท่อนไม้ หรือกระบอกไม้มาร้อยติดกันเป็นผืน และใช้ไม้ตีเป็นทำนองเพลง แขวนตี กับเสาบ้าง ขึงบนรางบ้าง หรือบางทีก็ผูกติดกับตัวผู้บรรเลง เครื่องดนตรีชนิดนี้พบทั่วไปในหลายประเทศ สำหรับในประเทศไทยพบในแถบภาคอีสาน และเรียกเครื่องดนตรีนี้หลายชื่อด้วยกัน เช่นเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือหมากโปงลาง เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า หมากขอลอ เพราะเวลาเคาะแต่ละลูกมีเสียงดังกังวานคล้าย ขอลอ (หมายถึง เกราะ ในภาษาอีสาน) ส่วนคำว่า โปงลาง นั้น เดิมเป็นคำที่ใช้เรียก กระดึงสำริด ที่ใช้แขวนคอวัวในสมัยโบราณที่เรียกกระดึงนี้ว่าโปงลางคงเรียกตามเสียงที่ได้ยิน ต่อมามีผู้นำชื่อนี้ไปตั้งเป็นชื่อ ลายแคน (การบรรเลงแคน) ที่เป่าเลียนเสียงโปงลางที่ผูกคอวัวเรียกว่า ลายโปงลาง และที่เรียกว่าหมากกลิ้งกล่อมก็เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะ สามารถกล่อมให้ผู้ฟังมีความเคลิบเคลิ้มเพลิดเพลิน โปงลาง นิยมทำจากไม้มะหาด หรือไม้หมากเหลื้อม เพราะเป็นไม้ที่มีความอยู่ตัวมากกว่าไม้อื่นๆ วิธีการทำเอาไม้มาถากเหลาให้ได้ขนาดลดหลั่นกันตามเสียง ที่ต้องการในระบบ 5 เสียง โปงลาง 1 ชุดจะมีจำนวนประมาณ 12 ลูก ใช้เชือกร้อยรวมกันเป็นผืน เวลาตีต้องนำปลายเชือกด้านหนึ่งไปผูกแขวนไว้กับเสาในลักษณะห้อยลงมา ส่วนปลายเชือกด้านล่างจะผูกไว้กับขา หรือเอวของผู้ตี วิธีการเทียบเสียง โปงลาง ทำโดยการเหลาไม้ให้ได้ขนาด และเสียงตามต้องการ ยิ่งเหลาให้ไม้เล็กลงเท่าใดเสียงก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระนาดในปัจจุบัน ที่มีเจ็ดเสียง และมีการปรับแต่งเทียบเสียงด้วยการใช้ ตะกั่วผสมขี้ผึ้ง ถ่วงใต้ผืนระนาด เพื่อให้ได้ระดับเสียง และคุณภาพเสียงที่ต้องการ การบรรเลงหมากกลิ้งกล่อม หรือโปงลาง นิยมใช้ผู้บรรเลงสองคนต่อเครื่องดนตรีหนึ่งชิ้น แต่ละคนใช้ไม้ตี ๒ อัน การเรียกชื่อเพลงที่บรรเลงด้วยโปงลางมักจะเรียกตามลักษณะและลีลาของเพลงโดยการสังเกตจากสภาพของธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น เพลง "ลายนกไซบินข้ามทุ่ง" หรือเพลง "ลายกาเต้นก้อน" เป็นต้น

1.ระนาดเอกไม้

2.ระนาดทุ้มไม้

ประวัติความเป็นมาและหน้าที่ของระนาด (ภาคกลาง)ระนาด เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากกรับ โดยใช้ไม้กรับขนาดเล็กใหญ่ลดหลั่นกัน เรียกว่า "ลูกระนาด" นำมาร้อยให้ติดกันเป็นผืนเรียกว่า "ผืนระนาด" ซึ่งแขวนไว้บนราง ใช้ขี้ผึ้งกับตะกั่วผสมกันติดหัวท้ายของลูกระนาด เพื่อถ่วงเสียงให้มีระดับต่างกันออกไป ลูกระนาดนี้แต่ก่อนทำด้วยไม้ไผ่ที่เรียกว่า ไผ่บงหรือไผ่ตง ต่อมามีผู้นำเอาไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัง ไม้มหาด ไม้พยุง มาเหลาใช้ แต่ที่นิยมกันว่าเสียงเพราะคือ ไม้ไผ่ตง ระนาดมี ๒ ชนิดคือ ระนาดเอก และระนาดทุ้ม ระนาดที่ทำด้วยไม้ แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ 1.ระนาดเอกไม้ลักษณะโดยทั่วไป ระนาดเอกไม้ประกอบด้วย ๒ ส่วนสำคัญคือ รางระนาด และผืนระนาด ซึ่งทำด้วยไม้ทั้งสองส่วน รางระนาด มีลักษณะเป็นรางงอนขึ้นทั้งสองข้าง อยู่บนฐานยกพื้น รางระนาดอาจเป็นรางเรียบๆ ธรรมดา หรืออาจแกะสลักลงลักปิดทองก็ได้ ซึ่งการทำดังกล่าวเรียกว่า "ระนาดรางทอง" ผืนระนาด มักทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้ชิงชัน มี ๒๑ - ๒๒ ลูก เจาะรูร้อยด้วยเชือกตลอดทั้งผืน ที่ด้านล่างของลูกระนาดแต่ละลูก ปาดให้มีความหนาบางไม่เท่ากัน และถ่วงด้วยขี้ผึ้งถ่วงระนาด เพื่อให้เสียงที่แตกต่างกัน การเทียบเสียงระนาดแต่ละลูก ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ไม้ตีระนาดเอกไม้ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ


๑. ไม้นวม มีลักษณะอ่อนนุ่ม ซึ่งพันด้วยผ้า เสียงที่ได้จะนุ่มนวล


๒. ไม้แข็ง มีเสียงดังแข็งกร้าว ซึ่งมักพันด้วยผ้าแล้วลงรักทับให้แข็ง หน้าที่ของระนาดเอกไม้ คือ เป็นตัวนำในวงปี่พาทย์ ดำเนินทำนองในทางเข้ม โลดโผน สนุกสนาน เปรียบเสมือนเป็นพระเอกของวง



2.ระนาดทุ้มไม้ เป็นเครื่องดนตรีที่คู่กันกับระนาดเอก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เลียนแบบระนาดเอกไม้ มีรางวางราบไปกับพื้น ผืนทำด้วยไม้ มี ๑๗ - ๑๘ ลูก รางอาจแกะสลักปิดทองหรือไม่ก็ได้ เสียงจะทุ้ม ลูกระนาดทุ้มมีลักษณะขนาดใหญ่กว่าระนาดเอกและไม้ที่ใช้ตีก็มีขนาดใหญ่กว่า นิ่มกว่าระนาดเอก ด้วยเช่นกันหน้าที่ของระนาดทุ้ม เปรียบได้กับตัวตลก ทำหน้าที่สอดประสานหลอกล่อกับระนาดเอก บรรเลงในแนวกระทุ้ง กระแทก กระทั้น สนุกสนานในการบรรเลง บางครั้งมีท่าทางการตีที่แปลกๆ เช่น ใช้ข้อศอกตีลงที่ลูกระนาดทุ้ม เป็นต้น




แกร็ปยาว







เกราะ เป็นเครื่องตีที่ทำด้วยไม้ไผ่ เดิมเป็นเครื่องตีสำหรับขานยาม ไม่ปรากฏว่านำมาใช้ร่วมในวงการดนตรี แต่ในการเล่นโขนละครตอนพักทัพที่อยู่เวรยาม และตอนที่หัวหน้าหมู่บ้านใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาบอกเหตุอันตราย หรือตีเพื่อนัดหมายชุมนุมลูกบ้าน เกราะ ทำด้วยไม้ไผ่ตัด เป็นปล้อง ไว้ข้อหัวท้าย ด้านล่างผ่าเจาะเป็นแนวยาวไปตามลำ ใช้ไม้ซีกหรือไม้แก่นเหลาขนาดพอเหมาะมือทำเป็นไม้ตี โดยผูกเชือกให้ติดไว้กับกระบอก บางทีก็เจาะทะลุที่ข้อทั้งสอง ข้าง สำหรับร้อยเชือกผูกแขวนหรือห้อย
วิธีตีเกราะมือซ้ายจับเชือกให้เกราะตั้งขึ้น มือขวาจับไม้ตี ตีบริเวณตรงกลางปล้อง หรือถัดมาทางล่างของปล้อง




โกร่ง เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้ไผ่ เช่นเดียวกับเกราะ แต่ยาวกว่า ตั้งอยู่บนขา 2 ขา เคยเห็นใช้ตีตามชนบท ในฤดูการงานสงกราณต์ เด็กๆและหนุ่มสาวใช้ตีประกอบการร้องที่เรียกว่า " ร่ำ " คือการตีควบไปกับการร้องในการเชิญทรงเจ้าเข้าผี และรำแม่ศรี เป็นต้น ที่ใช้ในวงการดนตรีก็คือ การตีร่วมกับการแสดงหนังใหญ่ และโขนละคร โดยเฉพาะในการบรรเลงเพลงกราวตรวจพล แต่ในการแสดงโขน ของกรมศิลปากร จะใช้โกร่งร่วมตีในวงปี่พาทย์ในการแสดงโขนกลางแจ้ง ถ้าเป็นการแสดงภายในจะไม่ใช้เพราะเสียงดังเกินไป โกร่ง ทำด้วยไม้ไผ่ยาว 4 หรือ 4 ปล้อง ตัดปาดหัวท้ายเหลือปล้องไว้ เจาะเป็นช่องระบายไปตามปล้อง โดยเจาะปล้องเว้นปล้อง หัวและท้ายจะมีไม้ทำเป็นขารองรับ เวลาตีจะวางราบขนานไปกับพื้น ใช้ไม้ตี ซึ่งด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก คล้ายกรับไม้ 2 อัน มาตีลง ระหว่างกึ่งกลางปล้อง ผู้ตีจะนั่งตีพร้อมกัน 2 หรือ 3 คนตีไปตามจังหวะใหญ่ ของทำนองเพลง โดยเฉพาะในเพลงกราวตรวจพล ซึ่งจะทำให้ผู้แสดงโขนฟังจังหวะได้ชัดเจน สามารถเต้นตามจังหวะได้พร้อมเพรียงกัน


กรับเสภา เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะไม้ชิงชัน เหลาให้เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนลบเหลี่ยมเล็กน้อย เพื่อไม่ให้บาดมือและสามารถกลิ้งตัวของมันเอง กลอกกระทบกันได้สะดวก ด้านล่างนูนโค้งเล็กน้อย เดิมใช้ขยับตีในการขับเสภา ดังที่เรียกว่า " ขยับกรับขับเสภา " ซึ่งผู้ขับ เสภาจะเป็นผู้ขยับเอง โดยใช้กรับ 2 คู่ ขยับคู่ละมือ ขับเสภาไปพลาง ขยับกรับสอดแทรกไปกับทำนองขับ ซึ่งมีวิธีการขยับกรับได้หลายวิธี อันถือเป็นศิลปชั้นสูงอย่างหนึ่งในการขยับกรับขับเสภา ซึ่งนิยมเล่นกันมากในสมัยโบราณ ในปัจจุบันคนขยับขับเสภาลดน้อยลง การเล่นปี่พาทย์เสภาก็เลือนหายไป คงเหลือกรับไว้สำหรับตีกำกับจังหวะหนักในวงปี่พาทย์ ซึ่งลดเหลือคู่เดียว เวลาตีมือหนึ่งจับกรับคว่ำมือลง อีกมือหนึ่งจับกรับหงายมือขึ้นตีกระทบกัน ที่ถูกต้องควรตีให้มีเสียงกล่ำกันเล็กน้อย เสียงจะดังไพเราะ



กรับพวง เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้ ผสมโลหะ ร้อยเชือกติดกันเป็นพวง ทั้งไม้และโลหะทำเป็นแผ่นบางๆสลับกัน โดยชิ้นนอกสุด 2 ชิ้น จะเหลาหนา หัว และท้ายงอนโค้งงอน ด้านจับเล็ก ตอนปลายใหญ่ ร้อย เชือกทางด้านปลาย ให้หลวมพอประมาณ เวลาตีมือหนึ่งจะจับกัมตอนปลาย ให้หัวตีลงบนมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะมีเสียงไม้กับโลหะกระทบกัน เดิมใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกท้องพระโรงของพระเจ้าแผ่นดิน ที่เรียกว่า " รัวกรับ " โดยเฉพาะในเรือสุพรรณหงส์ พระราชพิธีทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค เจ้าพนักงานจะรัวกรับ เพื่อบอกฝีผายทำความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และออกเรือ ในวงการดนตรี จะใช้กรับพวงตีร่วมในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงละคอนนอก ละครใน ตลอดจนโขน ละคอนที่แสดงภายใน โดยเฉพาะเพลงร่าย


กรับคู่ ทำด้วยไม้ไผ่ซีก 2 อันเหลาให้เรียบและเกลี้ยง หนาตามขนาดของเนื้อไม้ หัวและท้ายกว่าใหญ่ลดหลั่นกันเล็กน้อย ตีด้วยมือทั้งสองข้าง โดยจับข้างละอัน ให้ด้านที่เป็นผิวไม้กระทบกัน ตีลงบริเวณใกล้กับตอนหัว มีเสียงดัง กรับ กรับ โดยมากจะใช้ตีกำกับจังหวะในวง ปี่พาทย์ชาตรี ประกอบการแสดงละครชาตรี โดยเฉพาะ ในเพลงร่ายต่างๆ ในวงกลางยาวก็นิยมใช้กรับคู่ไปตีกำกับจังหวะหนัก ที่เรียกว่ากรับคู่คงเป็นเพราะมีเป็นคู่ 2 อัน บางทีก็เรียกว่า " กรับไม้ "


































0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น